สรุปข้อมูลโครงการการสื่อสารและสร้างเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเอง พื้นที่ใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
หลักกการและเหตุผล
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องดูแลทั้งด้านผลิต จัดหา และส่งกระแสไฟฟ้าไปยัง พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น กฟผ. จึงมีหน่วยงานต่างๆกระจายอยู่ในทุกภูมิภาค เพื่อบริหารจัดการเขื่อน โรงไฟฟ้า และระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ภารกิจสำคัญของหน่วยงานนอกจากเรื่องผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้า แล้ว คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ตลอดจนระวังเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมต่อชุมชน รวมทั้งให้การช่วยเหลือชุมชนที่ยังมีความเดือดร้อนอยู่เท่าที่จะทำได้ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี
ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นช่องทางส่งกระแสไฟฟ้าจากแหล่ง ผลิตไปยังพื้นที่เป้าหมายเท่านั้น หากแต่ยังเชื่อมระบบส่งไฟฟ้าจากหลายแหล่งผลิตด้วย เพื่อนากระแสไฟฟ้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ มาทดแทนหากเกิดกรณีที่การผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเสียหาย หรือไม่เพียงพอ เสาไฟฟ้าแรงสูงจึงพาดผ่านไปทั่วประเทศไทยทั้งในบริเวณที่มีและไม่มีบ้านเรือนประชาชน ทั้งนี้ กฟผ. ได้ ดำเนินการรอนสิทธิตามกฎหมาย กล่าวคือ การจ่ายเงินชดเชยจำนวนหนึ่งเพื่อมิให้เจ้าของบ้านหรือที่ดินใต้แนว สายส่งกระท าการใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง และทรัพย์สิน รวมทั้งระบบส่งไฟฟ้าได้ ซึ่งการรอน สิทธินี้อาจสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ หรือข้อขัดแย้งอื่นๆได้ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจ ความผิดพลาดในการ ท างานหรือจากเหตุอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น อาจมีการเปลี่ยนมือเจ้าของที่ดิน การสืบมรดกหรือการให้เช่าที่ดิน รอบๆ พื้นที่สายไฟฟ้าแรงสูงแก่ผู้อื่นที่ไม่ได้ทราบและรับประโยชน์จากการรอนสิทธิแต่ต้น เจ้าของที่ดินราย ใหม่หรือผู้เช่าบ้าน/ที่ดิน อาจประกอบอาชีพหรือมีวิถีชีวิตบางอย่างที่เสี่ยงต่อความเสียหายของระบบส่ง ไฟฟ้าแรงสูงได้ เช่น การปลูกพืชยืนต้นที่มีทรงสูง ปลูกอาคารใกล้เสาไฟฟ้า การขุดหน้าดินรอบๆ เสาไฟฟ้าขาย หรือแม้แต่วางเฉยต่อการโจรกรรม หรือกรณีร้ายที่สุด คือ ลักขโมยน๊อต เหล็กบางชิ้นจากเสาไฟฟ้าแรงสูงเอง ฯลฯ ท าให้เกิดความเสียหายต่อการบริการกระแสไฟฟ้าให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคการดูแลรักษา สุขภาพ และความจำเป็นด้านต่างๆของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้
การที่สายส่งไฟฟ้าทอดผ่านชุมชนต่างๆ เป็นแนวยาว และเกี่ยวข้องกับเพียงบางส่วนของแต่ละชุมชน ทำให้การทำงานกับชุมชนหรือเครือข่ายชุมชนตามแนวสายส่งเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนชุมชน เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยพลังชุมชนหรือเครือข่ายชุมชน เป็นไปได้ยากกว่าทำงานกับชุมชนทั่วไป การดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาชุมชนของ กฟผ.แบบเดิม อาทิการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมในวันสำคัญของประเทศ หรือช่วยเหลือแก้ไขปัญหาบางอย่างแบบแยกส่วนตามที่ผู้นำชุมชนร้องขอมา ไม่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและไม่อยู่บนฐานการพึ่งตนเองของชุมชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตระหนักว่า แนวคิดที่จะทำงานกับชุมชนเพื่อนำไปสู่การบรรลุประโยชน์ ของชุมชน สังคมและประเทศชาติ เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม สนับสนุน และเป็นภารกิจอีกอย่างหนึ่งของ สถาบันการศึกษา จึงได้เสนอและได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการโครงการการสื่อสารและการสร้างเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเอง พื้นที่ใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าอย่างยั่งยืน เพื่อดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนนำร่องใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ในพื้นที่ 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น-อุดรธานี) และภาคใต้ (สงขลา-สตูล) มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2556 และสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2559
การดำเนินงานของโครงการฯ ได้สร้างจิตสำนึกในการพึ่งตนเอง สร้างการเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการรับมือกับปัญหา ดึงศักยภาพของชุมชนออกมาใช้ จนสามารถสร้าง/พัฒนากลุ่มในการ ทำงานแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง ในขณะที่บุคลากรของ กฟผ. ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เอง ก็ได้เรียนรู้งาน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานร่วมกับชุมชน และได้พัฒนาความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับชุมชน ต่างๆ ดังนี้
ระยะที่ 1
ได้รับการอนุมัติให้เริ่มงานในปลายปี 2556 (ตุลาคม – ธันวาคม) ในพื้นที่ 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ (พิษณุโลก – อุตรดิตถ์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น – อุดรธานี) และภาคใต้ (สงขลา – สตูล) โดยมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง โครงการฯ กับชุมชน การศึกษาชุมชน ตลอดจนการยกร่างแผนปฏิบัติงานปี 2557 ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ สถานการณ์อย่างละเอียดโดยโครงการฯ และบางส่วนได้ ผ่านการพิจารณาร่วมกับชุมชน
ระยะที่ 2
2 (มกราคม – ธันวาคม 2557) โครงการฯ ได้สร้างกระบวนการทํางานพัฒนาที่เน้นความ ยั่งยืนในทุกขั้นตอน ขับเคลื่อนงานพัฒนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านความคิด ความ เชื่อ อาชีพ เงื่อนไขสภาพทางธรรมชาติ ระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างอํานาจและการเมืองท้องถิ่น ความพร้อมของผู้นํา และหน่วยงานต่างๆ ที่ทํางานในพื้นที่นั้นๆ ถึงแม้จะมีความแตกต่างในเชิงบริบท ของพื้นที่ แต่การดําเนินงานของทั้ง 3 ภาค ได้ยึดหลักการปฏิบัติเหมือนกัน คือ การสร้างจิตสํานึกในการ พึ่งตนเอง การสร้างการเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ วางแผน และดําเนินการแก้ไขปัญหาที่ เกิดในชุมชน การดึงศักยภาพของชุมชนและส่งเสริมการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็ง (empowerment) จนสามารถ สร้าง/พัฒนากลุ่มในการทํางานแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอรับความช่วยเหลือจาก ภายนอกเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป
ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2558) จึงวางแนวทางการดําเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยการสานต่อ/ ต่อยอดการดําเนินกิจกรรมในชุมชนนําร่องเดิม และชุมชนใหม่ เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายชุมชนใต้แนวสาย ส่งไฟฟ้า ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและเครือข่ายได้ตามวิถีแห่งการพึ่งตนเอง อันจะเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าให้แก่ชุมชนอื่นๆ ตามแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ บทเรียนการทํางานของโครงการฯ นี้ จะก่อให้เกิดนโยบายการทํางาน CSR รูปแบบใหม่ ที่สร้างแนวทางความ ยั่งยืนในการทํางานร่วมกับชุมชน ซึ่งมิใช้แค่การที่ กฟผ. เป็นเพียง “ผู้ให้” และชุมชนเป็นเพียง “ผู้รับ” อีก ต่อไป แต่จะเป็น “การให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี” ผ่านกระบวนการทํางานอย่างมีส่วนร่วมและ เรียนรู้ร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างงานพัฒนาที่ทําให้ กฟผ. ได้เข้าไปนั่งอยู่ในใจคน/ชุมชน นอกจากนี้ ยังเกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกชุมชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งผลดังกล่าวยัง หนุนเสริมการทำงานด้าน CSR ของ กฟผ. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้จะเกิดผลงานในแต่ละภาค แต่ด้วยระยะเวลาดำเนินงานเพียงไม่กี่ปี ทำให้เครือข่ายต่างๆ ยังไม่เข้มแข็งเต็มที่ ประกอบกับประเด็นในการขับเคลื่อนงานบางพื้นที่ เพิ่งจะปรากฏอย่างเด่นชัด
ในช่วงปี 2559 จึงได้มีการขยายการดำเนินงานโครงการฯ เป็นระยะที่ 4 โดยพื้นที่ชุมชนนำร่องของทั้ง 3 ภาค ล้วนมีอัตลักษณ์ของงานที่ทำแตกต่างกันออกไป โดยภาคเหนือเป็นการใช้ ทุนทางวัฒนธรรมมาขับเคลื่อน ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วิถีการผลิตเรื่องข้าว ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การแก้ไขปัญหาสาธารณูปโภค การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และการเกษตรสีเขียวหรือเกษตรยั่งยืน สำหรับภาคใต้ ส่งเสริมให้นำทรัพยากรชุมชน และ ภูมิปัญญา ผสานแรงขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเรื่องสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้าง มาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
วัตถุประสงค์โครงการฯ
ระยะที่ 1–3
(พ.ศ. 2556 - 2558)
- เพื่อศึกษาหาแนวทางในการทํางานกับกลุ่มในชุมชนและเครือข่ายประชาชนที่อาศัยหรือประกอบ อาชีพตามแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ที่นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
- เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์แนวราบระหว่าง กฟผ. กับชุมชน รวมทั้งหน่วยงาน/ สถาบันต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนากลุ่มและเครือข่ายเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
- เพื่อพัฒนาต้นแบบและถอดบทเรียนการดําเนินบทบาท กลยุทธ กระบวนการทํางาน ของ หน่วยงาน กฟผ. ที่ดูแลระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่ ที่สามารถนําไปปรับใช่ในพื้นที่ตามแนวสายส่ง ไฟฟ้าแรงสูงอื่นๆ ต่อไป
ระยะที่ 4
(พ.ศ. 2559)
- เพื่อเติมเต็มการพัฒนารูปแบบการทำงานกับกลุ่มในชุมชนและเครือข่ายประชาชนที่อาศัยหรือ ประกอบอาชีพตามแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ที่น าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มและเครือข่ายเป้าหมาย
- เพื่อผลักดัน ขบวนการ/เครือข่าย ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และส่งผลกระทบต่อนโยบายในระดับท้องถิ่น และระดับชาติในด้านการจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สมุนไพรและแพทย์แผนไทย และการปลูกข้าวแบบประณีต
- เพื่อหนุนเสริมกระบวนการท างาน CSR พัฒนาต้นแบบ และถอดบทเรียนการดำเนินบทบาท กลยุทธ์ กระบวนการทำงานของหน่วยงาน กฟผ. ที่ดูแลระบบสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ตามแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงอื่นๆ ต่อไป
คุณลักษณะของโครงการ
- โครงการนี้ เป็นโครงการนำร่องเพื่อให้ กฟผ. (และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่โครงการ) ได้ เรียนรู้รูปธรรมการทำงานพัฒนาชุมชนที่นำไปสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
- โครงการนี้มีลักษณะดำเนินการในรูปแบบ “การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)” กลายๆ แม้จะไม่ได้ ดำเนินการแบบเต็มรูปแบบในทุกพื้นที่ แต่เข้าไปดำเนินการในลักษณะทำไป วิเคราะห์ไป วางแผนและแก้ปัญหาไป (Think – Action – Research – Action) โดยมีการปรับวีธีการทำงานให้ เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์
- ในบางพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษะการทำงานแบบ “การประเมิน สถานการณ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal หรือ PRA) และ การวิจัยโดยชุมชน (สกว. เรียกว่า “วิจัยท้องถิ่น”) กระบวนการดังกล่าวส่งเสริมให้ชาวบ้านคิด วิเคราะห์ ประเมิน ความเสี่ยง กำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหา วางแผน ปฏิบัติการ สรุปบทเรียน และย้อนกลับไปที่การวางแผน ใหม่ เป็นการสร้างเสริมอาวุธทางปัญญาให้แก่ชุมชน ทำให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ในการแก้ไขปัญหาหรือดำเนินงานพัฒนาด้วยตนเอง
- โครงการนี้มีลักษณะการทำงานแบบบูรณาการและองค์รวม (ครอบคลุมมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม) ไม่ข้ามขั้นตอนการพัฒนาเชิงกระบวนการ เป็นการก่อร่างสร้างฐานงานพัฒนาให้แน่น และไม่ได้ทำโครงการให้เสร็จแบบขอไปทีแบบแยกส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เน้นการพัฒนาคน พัฒนาองค์กร พัฒนาเครือข่าย และเปิดเวทีให้ภาคีเครือข่าย ร่วมกันเป็น เจ้าภาพร่วมกันทำงาน เพื่อผลักดันให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นองค์รวม เป็นโครงการที่ไม่ใช่ทำงานโดยมีพิมพ์เขียว (Blue print oriented) ล่วงหน้า เพราะมิใช่โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค หรือสร้างบ้าน หรือโครงการที่ทำกับสิ่งต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หากแต่เน้นทำงานพัฒนาอย่างเป็น กระบวนการ (process oriented) โดยเชื่อว่า หากกระบวนการทำงานดี ถูกต้อง เหมาะสม ผลลัพธ์ที่ เกิดจะดีตามไปด้วย
- กิจกรรมของโครงการฯ ถือเป็นแบบฝึกหัดฝึกพัฒนาคนไปในตัว และให้บุคลากร กฟผ. รวมทั้ง หน่วยงานข้างเคียงเรียนรู้งานไปพร้อมกัน (แม้บางพื้นที่จะยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องด้วยข้อจำกัด เรื่องเวลา)
- การบริหารโครงการฯ มีจุดแข็งอยู่ที่ ความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนงานและงบประมาณให้ สอดคล้องกับความเป็นจริง และกระจายอำนาจการตัดสินใจให้เจ้าหน้าที่สนาม สามารถยกร่าง แผนงานในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับทิศทางหลัก ไม่หลุดจากเป้าหมายใหญ่ของโครงการ
- การทำงานไม่ยึดติดกับโครงสร้างอำนาจ กลไก และความเป็นทางการมากจนเกินไป หลายกรณีไม่ จำเป็นต้องใช้เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือรอคำสั่งอย่างเป็นทางการ แต่การทำงานเน้นการใช้ ความสัมพันธ์แนวราบในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนเป็นหลัก
สรุปผลที่ได้รับ
การดำเนินงานในช่วง ปี 4 ปีที่ผ่านมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ. 2559 เจ้าหน้าที่โครงการฯได้ เติมเต็มความรู้และประสบการณ์การพัฒนารูปแบบต่างๆ ให้กับกลุ่มในชุมชนและเครือข่ายประชาชนที่อาศัย หรือประกอบอาชีพตามแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง รวมทั้งหนุนเสริมกระบวนการท างาน CSR พัฒนาต้นแบบ และถอดบทเรียนการทำงาน สรุปผลที่เกิดขึ้นของทั้ง 3 ภาค ดังนี้
(1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือ เครือข่ายอาชีพ ระหว่างชุมชนตามแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยในพื้นที่ ภาคเหนือ เป็นลักษณะของเครือข่ายระดับชุมชน มีการเชื่อมโยงคน วัฒนธรรม และ พ ระพุท ธศ าสน าเข้าด้วยกัน และใช้จัดการความ รู้ในการทำนาปลอดสารและนาอินท รีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเครือข่ายระหว่างชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น ร่วมขับเคลื่อนเรื่องการจัดการน้ำ การจัดการป่าชุมชน และวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์ ในส่วนของภาคใต้เกิดเครือข่ายผู้ปลูกพืชสมุนไพรในระดับ ชุมขนท้องถิ่น และเครือข่ายพัฒนาการแพทย์แผนไทยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาค ประชาสังคม และสถาบันการศึกษาร่วมกันขับเคลื่อนงาน และด้วยลักษณะการท างานที่เป็นเชิงเครือข่าย กลุ่ม/ชุมชนสามารถจัดการปัญหาของตนเองได้ ท าหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้ ช่วยกันยกระดับคุณภาพชีวิต (มีน้ำใช้ มีผักสวนครัว มีป่าชุมชน ผลิตข้าวอินทรีย์ ผลิตสมุนไพรและยำ สมุนไพร มีรายได้) บนฐานของการพึ่งตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(2) เกิดความร่วมมือในการผลักดันนโยบายการทำงานพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งขับเคลื่อนงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป่าชุมชน) และการท าเกษตรอินทรีย์ นายอำเภอเขาสวนกวางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ต่างยินดีที่จะหนุนเสริมการท างานของ ชุมชนในพื้นที่ ยกตัวอย่าง การแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าชุมชนบ้านห้วยยาง ถูกบรรจุอยู่ในปัญหาเร่งด่วนที่ต้อง ได้รับการแก้ไขในระดับอำเภอ พื้นที่ภาคใต้ อยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดนโยบายที่มุ่งไปสู่ “การสร้างต าบลสุขภาวะ” ด้วยการ ขับเคลื่อนการใช้ยาสมุนไพรและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จังหวัด สตูล รอการบรรจุให้อยู่ในแผนพัฒนาของตำบล ซึ่งถึงแม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นและต้องรอการประกาศใช้ แผนพัฒนาในปี 2560 อย่างเป็นทางการ แต่ก็ส่งผลในทางปฏิบัติตั้งแต่กลางปี 2559 โดยโครงการฯ วิทยาลัย ชุมชน และ อบต. ได้เปิดอบรมห้องเรียนแพทย์แผนไทย รวมทั้งมีการส ารวจ และออกแบบการใช้พื้นที่ สาธารณะประโยชน์ 500 ไร่ สร้างป่าใน 3 รูปแบบ (ป่าฟื้นฟู ป่าพัฒนา และป่าอนุรักษ์) ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ อยู่ในช่วงเริ่มต้นกระบวนการสร้างความร่วมมือกันหน่วยงานในพื้นที่และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จึงอาจยังไม่มีการผลักดันเชิงนโยบายเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีการวางแผนทิศ ทางการท างานพัฒนา โดยน าประเด็นเรื่อง ข้าว ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ระดับประเทศ ร่วมกันหาทางออกในพื้นที่ ต่อไป
(3) เกิดความเข้าใจ และความรู้สึกเป็นกัลยาณมิตรกับ กฟผ. และเต็มใจร่วมมือดูแลรักษาสายส่ง ไฟฟ้าแรงสูง ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ชุมชนใน 3 ภูมิภาค ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกับ กฟผ. ในการ ดูแลระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง อาทิเช่น พื้นที่ภาคเหนือ สมาชิกกลุ่มนาบุญนาขุม ละเว้นการเผาตอซังในนาที่ อยู่รอบๆแนวสายส่งไฟฟ้า และช่วยดูแลบริเวณเสาสายส่งไฟฟ้าไม่ให้เป็นพื้นที่รกร้าง เครือข่ายชุมชนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือสร้างกฎกติกาในการดูแลรักษาเสาสายส่งไฟฟ้า (เป็นหูเป็นตาแทน อปอ. หากเกิดเหตุขึ้น จะรีบแจ้ง) และวางแผนปรับเปลี่ยนการผลิตพืชใต้แนวสายส่งในพื้นที่บ้านห้วยยาง (เปลี่ยนจากอ้อย เป็นพืช อายุสั้นอื่นๆ) เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียต่อสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในอนาคต ภาคใต้ มีรูปธรรมที่ชัดเจน คือ เกิดแปลง ปลูกสมุนไพรใต้แนวสายส่งไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ยืนยันการใช้พื้นที่ใต้แนวสายส่งให้เป็นประโยชน์ในการ สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
(4) สังคมมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟผ. กิจกรรมที่สร้างแรงสะเทือนในพื้นที่ภาคเหนือ คือ การที่ชุมชนบ้านนาขุม ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการพิษณุโลกวัดร่มเย็น ถึงแม้กลุ่มนาบุญนาขุมจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงพลังชุมชน แต่สังคม ภายนอกได้ตระหนักถึงบทบาทของ อปน. ในการหนุนเสริมกลุ่ม และชุมชนมาโดยตลอด หรือการที่สัญลักษณ์ องค์กร (logo) ของ กฟผ. ติดอยู่บนฉลากสินค้าข้าวนาบุญนาขุม นอกจะเป็นการช่วยการยืนยันคุณภาพสินค้า ให้แก่กลุ่มแล้ว ยังเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรไปในตัว ทำให้คนสนใจบทบาทใหม่ที่ กฟผ. ดำเนินการ คือ เรื่องการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การจัดการตลาด รวมทั้ง การเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานพัฒนาในชุมชน เป็นการต่อยอดในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีที่ กฟผ. ช่วยสนับสนุนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมที่สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างมาก เกิดตั้งแต่ ปี 2558 และ ต่อมาถึงปี 2559 คือ ความส าเร็จในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ าในชุมชน และต่อมาได้เพิ่มเรื่อง การขับเคลื่อนเครือข่ายป่าชุมชน การผลิตอาหารอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างเครือข่าย สภาปราชญ์ ระดับอำเภอ ทำให้เกิดองค์ความรู้ชุดใหม่หลายอย่าง มีการทบทวนความล้มเหลวของงานในอดีต เกิดกระบวนการสร้างปัญญาเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาชุมชน รวมทั้งรูปแบบการรณรงค์ การสร้างเงื่อนไขให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเข้ามาปฏิบัติงานในชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ ตัวอย่างการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลสำเร็จของงานอาจดูได้จาก รางวัลชนะเลิศการประกวดด้าน CSR และด้านธรรมาภิบาล ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วในบทก่อน ซึ่งมีสื่อหลายสาขามาท ารายการและเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะหลายครั้ง นอกจากนี้ จากการที่ป่าชุมชนบ้านนางิ้วนาโพธิ์เป็นป่าชุมชนแห่งเดียวในจังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นตัวอย่างโครงการ “สร้างป่าสร้างรายได้” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา ปี 2558 ทำให้พื้นที่นี้ได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของหลายหน่วยงานและหลายชุมชน และชื่อเสียงของ กฟผ. ก็ปรากฏเสมอในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่เป็นพี่เลี้ยง และให้การสนับสนุนมาแต่ต้น
ในส่วนของภาคใต้ ที่มีเงื่อนไขภูมิสังคมแตกต่างจากอีกสองภาค ได้ใช้ศักยภาพในพื้นที่ขับเคลื่อนงาน ด้านแพทย์แผนไทย การส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อนำไปผลิตยาไทย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างสถาบันต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข มหาดไทย มหาวิทยาลัยในภาคใต้ และ เครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์ (มูลนิธิ) เพื่อให้ท า กิจกรรมน าร่อง จนกลายเป็นตัวอย่างของการดำเนินงานพัฒนาแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกตามแผนแม่บท ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งเครือข่ายนี้จะช่วยดูแลเรื่อง การสืบทอดภูมิปัญญาไทย การพัฒนา สุขภาพ และการหาค าตอบในการรับมือสังคมผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ทวีจ านวนมากขึ้นทุกวัน การพัฒนา ระบบดูแลสุขภาพโดยชุมชน เพื่อลดการผลักภาระที่รัฐต้องแบกรับด้านสาธารณสุข ภาพลักษณ์ต่อสังคมที่ อปต. สนับสนุนงานพัฒนาพืชสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย เห็นได้ชัดมาตั้งแต่ช่วงปี 2558 การจัดงาน เปิดตัวศูนย์สมุนไพรและเภสัชกรรมไทย บ้านเข้าพระ และเปิดตัวแปลงปลูกสมุนไพรในพื้นที่ใต้แนวสายส่ง
(5) เกิดชุดความรู้ใหม่ ประสบการณ์ในการทำงานของโครงการฯ ใน 3 ภูมิภาคนั้น ได้สร้างแง่คิด และชุดความรู้ใหม่หลาย เรื่อง แต่โครงการฯ ยังไม่มีโอกาสได้สกัดความรู้ที่แหลมคม และชัดเจนนัก เนื่องจากว่า ภารกิจในการ ขับเคลื่อนงานในพื้นที่มีมาก และบางกิจกรรมก็เพิ่งก่อรูป บ้างก็เพิ่งเป็นผลระยะแรกในปี 2559 นี้เอง อย่างไรก็ ดี จากการประมวลประสบการณ์และทบทวนข้อมูล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- การศึกษาชุมชนที่ลึกซึ้ง รอบด้าน เป็นปัจจัยส าคัญอย่างยิ่งในการเปิดประตูแห่งความสำเร็จใน การทำงานร่วมกับชุมชน เพราะหากวิเคราะห์ข้อมูลไม่ลึกซึ้งพอ ก็อาจไม่ได้จับประเด็นสำคัญที่สุด หรือมีศักยภาพที่สุดในการทำงานขึ้นมา ทำให้ต้องเสียเวลา เสียทรัพยากร และสูญเสียความ เชื่อมั่นในตัวของเจ้าหน้าที่ได้ การศึกษาชุมชนเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ และมีประสบการณ์ การศึกษาที่แตกต่างกัน เข้าใจเรื่องนี้ต่างกันและไม่เท่ากัน และเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่และ ผู้บังคับบัญชาที่ไม่คุ้นชินกับงานพัฒนาชุมชนมักมองข้ามความส าคัญด้วย
- โดยปกติ เจ้าหน้าที่มักยึดความชำนาญหรือประสบการณ์เฉพาะตนเป็นกรอบหลักในการวิเคราะห์ ชุมชนและเลือกทำกิจกรรมในแนวนั้นเสมอๆ หากสิ่งที่คิดไว้ถูกต้อง หรือเจ้าหน้าที่มีความ เชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งก็อาจจะยังสามารถชี้นำและสร้างการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนได้ในที่สุด แต่ถ้าวิเคราะห์ผิดพลาดมาก ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องระวัดระวังให้มากว่าตนเองไม่ครอบงำความคิดของชาวบ้าน ตนเองอาจมองเห็น และสามารถทำงานให้ผ่านพ้นไปได้เพราะมีความรู้หรือประสบการณ์ แต่ต้องตระหนักว่า ชาวบ้าน อาจไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว
- การหยิบประเด็นปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนจริง แม้ปัญหาจะใหญ่ หรือยาก แต่หากเจ้าหน้าที่มี ความละเอียดอ่อนและสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาเสริมความรู้ให้ชุมชนได้ ก็มีโอกาสสูงที่งานนั้นจะลุล่วงไปด้วยดี และจะสร้างความเชื่อมั่น ความภาคภูมิใจ ในตนเองสูง รวมทั้งมีความศรัทธาในตัว เจ้าหน้าที่เป็นอย่างมากเช่นกัน
- การเข้าใจระบบและโครงสร้างอำนาจ การเห็นความสัมพันธ์ของแกนนำและพวกพ้องของแต่ละ กลุ่ม รวมทั้งรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ ผูกพัน หรือขัดแย้งกันตั้งแต่อดีต จะมีผลต่อการจัดตั้งกลุ่ม การ สร้างกระบวนการเรียนรู้ และเสริมพลังให้แก่กลุ่ม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ต้องรักษาความเป็นกลางให้มาก ที่สุดเท่าที่จะมากได้ หรืออาจไม่เป็นกลาง แต่ต้องไม่แสดงออกในที่สาธารณะว่าเห็นด้วยหรือไม่ เห็นด้วยกับคู่ขัดแย้งอย่างซึ่งหน้า และเปิดเผย เพราะจะส่งผลกระทบต่อการท างานต่อๆไป
- ความรู้ และภูมิปัญญา เป็นปัจจัยส าคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับสร้างความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา ในชุมชน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงไม่ควรผลักดันให้เกิดกิจกรรมใดๆ จนกว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งจะ ตระหนักถึงปัญหา ผลกระทบ สาเหตุ และรู้แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างหลากหลายวิธี แล้วค่อยมา เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองก่อนลงมือปฏิบัติการ
- ยิ่งขอบเขตการทำงานขยายกว้างขวางออก ความจ าเป็นในการสร้างเครือข่ายช่วยเหลือกันและ กันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เครือข่ายที่ต้องการนี้ มีทั้งเครือข่ายแนวราบ (ระหว่างชุมชน หรือชาวบ้านด้วยกัน) และเครือข่ายแนวดิ่ง (ระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภายนอกทั้งในและนอก พื้นที่) ยิ่งไปกว่านั้น ในบางครั้งการแลกทรัพยากรของหน่วยงานก็มีความจำเป็นสูง เพราะแต่ละ หน่วยงานไม่มีความพร้อมในการทำงานทุกด้านหรืออาจไม่มีทรัพยากรใช้จ่ายส าหรับบางกิจกรรม ที่ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้า แต่หากกิจกรรมนั้นตรงกับแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว ก็ ไม่มีปัญหาในการระดมทรัพยากรและความช่วยเหลือกันมากนัก คนที่ท าหน้าที่เป็นคนกลางหรือผู้ ประสานงาน ต้องวางตนเป็นกลาง มุ่งเน้นแต่ประโยชน์ของสังคมโดยรวม มิใช่วัตถุประสงค์ของ หน่วยงานตนเองเท่านั้น เช่นนี้จึงจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ และต้องไม่เคลมว่างาน นั้นๆ เป็นของเราแต่เพียงผู้เดียวหรือฝ่ายเดียว
- หลักการทรงงาน และพระราชดำรัสเรื่อง การพัฒนาต้องเกิดจากภายใน หรือ “ระเบิดจาก ภายใน” เป็นเรื่องที่ถูกต้อง จริงแท้ เพราะหากไม่เริ่มต้น หรือตัดสินใจโดยชุมชน ไม่พยายาม ระดมความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนทรัพยากรจากภายในชุมชนก่อน งานที่ทำจะไม่มีความยั่งยืนลย