โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำทีมโดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมนำเสนอการมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)
โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำทีมโดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมนำเสนอการมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ที่ ห้องประชุมเกษมสโมสร โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566
ภายในงาน โครงการได้นำเสนอการดำเนินงานในพื้นที่ต่อ นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นประธานตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) พร้อมด้วย นางสาวฉัตรประอร นิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ นางสาวกมลชญา ประเสริฐสิน นายอำเภอบางปะกง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมงาน
ปัจจุบันโครงการพลังชุมชนฯ ได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับอำเภอบางปะกง ในโครงการบริหารจัดการขยะในชุมชน ประกอบกับสภาพพื้นที่ของอำเภอบางปะกง เป็นชุมชนอาคารบ้านเรือนอาศัยหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาปริมาณขยะในครัวเรือน การทิ้งขยะลงสู่แม่น้ำลำคลอง ปัญหาขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนปัญหาผักตบชวาในลำคลองและแม่น้ำบางปะกง เกิดผลกระทบกับประชาชนที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม
.
การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อการจัดการและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ และใช้นวัตกรรมในการแก้ไข พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในตำบลท่าข้าม สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องและขยายผล ถังดักไขมันครัวเรือน, การจัดการเศษอาหารในครัวเรือน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าบางปะกง กิจกรรมครั้งนี้ได้มีการสาธิตจากหมู่บ้านนำร่องที่โครงการได้ร่วมดำเนินการ
โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน – CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)