เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือคุ้นเคยกับคำว่า “การบูรณาการ” แต่คำว่าบูรณาการจริง ๆ แล้วคืออะไร และทำยังไงเราถึงจะ “บูรณาการ” ได้สำเร็จ มาหาคำตอบในโพสต์นี้กัน
“บูรณาการ” ไม่เพียงแต่นักพัฒนาชุมชน หรือคนในแวดวงวิชาการจะรู้จัก และใช้กันเท่านั้น
แต่ “การบูรณาการ” นั้นความจริงแล้วแฝงอยู่ในชีวิตของเราทุกคน เพราะ “บูรณาการ” คือการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์ เนื้อหา สาขา วิชาต่าง ๆ เข้ามามาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดเป็นความรู้ที่มีความหมาย หลากหลาย และนำไปใช้ได้จริง การบูรณาการจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวเรา และมีความสัมพันธ์ กลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของเราโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าในโลกนี้คงไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้ ดังนั้นการเชื่อมโยงความรู้อย่างหลากหลาย ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลายก็จะช่วยให้ “การบูรณาการ” สำเร็จเห็นผลอย่างชัดเจน
เคล็ดลับการบูรณาการ (Integrated) ให้สำเร็จ
1
มีความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill) แตกต่างกัน
ผู้ทำงานร่วมกันมีความรู้ และทักษะที่แตกต่างกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล (Data & Information) ความรู้ (Knowledge) ความชำนาญ (Expertise) ความรู้เชิงปฏิบัติการ (Know-how) ก็จะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
2
มีทัศนคติ (Attitude) ที่ดีระหว่างกัน
การทำงานอย่างเปิดใจ จริงใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อกันตั้งแต่ต้น จะช่วยให้การประสานงาน และทำงานร่วมกันง่ายขึ้น
3
มีเป้าหมาย (Destination) ร่วมกัน
ร่วมกันหาเป้าหมายแบบองค์รวม (Holistic) ไม่ใช่ของหน่วยงานใด หรือของใครคนเดียว แต่เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
4
ยอมเสียเวลาถกเถียงกัน (Discussion)
หากช่วยกันคิด ร่วมกันสร้างแผนงานโดยคิดบนพื้นฐานการทำงานตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ แม้อาจต้องเสียเวลาถกเถียงกันในช่วงเริ่มต้น วางแผนอย่างถี่ถ้วน จะช่วยให้งานสำเร็จอย่างรวดเร็ว
5
ประเมิน (Estimate) ความสำเร็จ/ ล้มเหลว เป็นระยะๆ เพื่อให้มองเห็นสาเหตุของปัญหา/ ความล้มเหลว ได้รวดเร็ว และชัดเจน
ยิ่งเราเห็นปัญหา/ ความล้มเหลว ได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เราปรับปรุงการทำงาน และช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน
6
การพัฒนาความสามารถของภาคีเครือข่าย
หัวใจสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจหลงลืมได้ในการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพราะนอกจากการแบ่งปันความรู้ และทรัพยากร แล้ว การพัฒนาความสามารถไม่เพียงจะช่วยให้แต่ละคน แต่ละองค์กรเกิด
ทักษะ/ ความสามารถเพิ่มขึ้น แต่ยังช่วยให้งานที่ทำร่วมกันเกิดความก้าวหน้า บรรลุเป้าหมาย และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม
ได้ในท้ายที่สุด