10 เทคนิคการสื่อสารกับคนในชุมชน และหน่วยงานภายนอก

10 เทคนิคการสื่อสารกับคนในชุมชน และหน่วยงานภายนอก

10 เทคนิคการสื่อสารกับคนในชุมชน และหน่วยงานภายนอก
.
ในการทำงานพัฒนาการสื่อสารถือเป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเราสามารถใช้เทคนิคในการสื่อสารให้เหมาะสมกับบุคคล สถานการณ์ ช่วงเวลา ตลอดจนรับฟังการสะท้อนข้อมูลกลับ ย่อมช่วยให้ข้อมูลที่เราต้องการสื่อสารมีประสิทธิภาพ การสื่อสารตรงตามวัตถุประสงค์ และช่วยให้งานของเราสำเร็จลุล่วงด้วยดี วันนี้เรามีเทคนิคที่พี่ๆ โครงการ CEIS ใช้จริงในพื้นที่มาฝากกัน
.
✅ 1. รู้กลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสาร – เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง หากเป็นภาษาถิ่นได้ก็ยิ่งดี
.
✅ 2. กำหนดประเด็นที่จะสื่อสารให้ชัดเจน – เลือกใช้คำพูดที่กระชับ ชัดเจน และสื่อสารเรื่องหรือประเด็นที่ต้องการสื่อไม่ให้ชาวบ้าน หรือผู้รับสารคลุมเครือ
.
✅ 3. หาบุคคลที่จะสามารถขยายผลในชุมชนได้ – ต้องพิจารณาหาบุคคลที่สามารถทำหน้าที่ในการสื่อสารหรือขยายผลต่อในวงกว้าง เป็นคนที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มหรือในชุมชน และคนเหล่านี้ ต้องมีช่องทางในการสื่อสารทั้งรับและส่งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างทั่วถึง
.
✅ 4. เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม – ช่วงเวลาที่จะพูดคุยหรือประชุมกับชาวบ้าน ควรเลือกเวลาที่ชาวบ้านสะดวกเป็นหลัก เช่น บางพื้นที่ชาวบ้านต้องทำงานในช่วงกลางวันของวันธรรมดา และต้องดูแลครอบครัวในช่วงค่ำ ก็ให้เลือกช่วงวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ หากเป็นหน่วยงานราชการก็ควรเลือกช่วงเวลาราชการที่ไม่เช้า หรือใกล้เวลาเลิกงานเกินไป
.
✅ 5. การสนทนาวงเล็กจะช่วยให้ได้ประเด็นเชิงลึกมากกว่าวงใหญ่ – การสนทนาวงเล็กแม้อาจต้องทำหลายหน (หลายวง) และเสียเวลามากกว่า แต่ก็ให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการประชุมที่เน้นจำนวนคนมากๆ เพียงเพื่อประหยัดเวลา
.
✅ 6. ให้ข้อมูลทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย – หากต้องสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานโครงการ ให้ส่งต่อข้อมูลให้ทั้งคนที่เห็นด้วย และคนที่ไม่เห็นด้วย เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และเราอาจได้แง่คิดบางอย่างจากคนที่ไม่เห็นด้วยมาปรับปรุงการทำงานของเรา
.
✅ 7. สื่อสารอย่างต่อเนื่อง – ต้องสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทั้งเรา, ชาวบ้าน และหน่วยงานที่ติดต่อ รับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในชุมชน เท่าทันสถานการณ์อยู่เสมอ
.
✅ 8. รับฟัง Feedback – การรับฟังข้อมูลสะท้อนกลับหรือข้อเสนอแนะ (feedback) มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้งานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
✅ 9. หากมีข้อมูลเท็จหรือเชิงลบต้องรีบแก้ไข – การทำงานในพื้นที่ชุมชน หากมีข้อมูลเท็จหรือข้อมูลเชิงลบที่ชาวบ้านได้รับแล้วส่งผลต่อโครงการของเรา ควรแก้ไขโดยใช้วิธีการถอดบทเรียนร่วมกับชาวบ้านมากกว่าการแก้ตัว เพื่อฝึกชาวบ้านให้เรียนรู้การทบทวนข้อมูล โดยชวนชาวบ้านถอดบทเรียน “เราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูลนี้”
.
✅ 10. อย่าคิดว่าชาวบ้านเป็นเพียงผู้ปฏิบัติ หรือหน่วยงานมีหน้าที่ต้องทำ – ควรปรับ Mindset การทำงานในชุมชน โดยใช้หลัก “นี่ไม่ใช่การคุยกับชาวบ้าน แต่เป็นการคุยกับผู้มีประสบการณ์” และ “นี่ไม่ใช่การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ แต่เป็นการประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน/ อุดมการณ์”
.
10 เทคนิคที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้จริงในชุมชน ยังมีเทคนิคอีกหลากหลายที่นักพัฒนาจะต้องเรียนรู้ และหยิบจับมาให้ให้ถูกที่ถูกเวลา เพื่อให้เทคนิคนั้นเกิดผล และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในที่สุด

Share this post