โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ
แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร
“ตลาดเกษตรสุขใจ” โมเดลนำร่องของโครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ที่ผลักดันให้คนในพื้นที่อำเภอเขาสวนกวางได้กินดี อยู่ดี ถูกหลักโภชนาการ มีพืชผักอาหารปลอดภัยไว้ติดครัว
จากการสำรวจดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกทั้งหมด 113 ประเทศ พบว่าในปี 2022 ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารอยู่อันดับที่ 64 อยู่ในระดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย ตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2021 อยู่อันดับที่ 51 ซึ่งจากการประเมินคะแนนความมั่นคงด้านอาหารทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 3 คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในด้านความหลากหลายทางอาหาร มาตรฐานโภชนาการ และความพร้อมของสารอาหารรอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด แต่ก็ยังมีขาดคุณภาพ ในด้านความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี
“ตลาดเกษตรสุขใจ” โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ โมเดลนำร่อง ในพื้นที่ปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดขอนแก่น
จากสถานการณ์รอบโลกที่ส่งผลกระทบ และสร้างแรงกระเพื่อมในวงกว้าง ประกอบกับ
เป้าหมายของโครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ที่พร้อมสนับสนุน ส่งเสริมและผลักดันให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน เตรียมความพร้อมทั้งเชิงรุก และตั้งรับในทุกมิติ ทั้งในด้านความเป็นอยู่ อาชีพ และองค์ความรู้ โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง จนทำให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โมเดลนำร่อง “โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ” นำร่องในพื้นที่ปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง ได้กินดี อยู่ดี และสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นในราคาที่เหมาะสม เพื่อร่วมกันสร้างแบบแผนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย สร้างวิถีและระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกร ครอบครัว ตลอดจนการเอาใจใส่เรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในชุมชนเกษตรกรรม
ซึ่งชุมชนภายใต้โครงการ ฯ ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นจะต้องมั่นใจในกระบวนการผลิตว่า “ปลอดภัย” โดยเจ้าหน้าที่โครงการ ฯ จะมีการทวนสอบกระบวนการผลิต แหล่งที่มาตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมกระบวนการกลุ่มตั้งแต่การจัดตั้ง พัฒนา ปรับปรุง และแก้ไข ทั้งในด้านผลผลิต รวมถึงระบบการจัดการสต็อก บัญชี ซึ่งว่าสมาชิกกลุ่มผักบ้านห้วยยาง และกลุ่มผักบ้านทุ่งบ่อ ได้นำผักปลอดภัยออกร้านจำหน่าย ซึ่โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ไม่เพียงแต่มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้ชุมชนปลูกผักปลอดภัยไว้กินภายในครอบครัว และหากเมื่อมากเกินความจำเป็นจึงนำออกจำหน่ายให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้เข้าถึงผลผลิต และอาหารที่ถูกหลักอนามัย พร้อมกับสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเกษตรกร
ซึ่งตรงกับนิยามตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดไว้ และสามารถสรุปได้ตามองค์ประกอบสำคัญ 4 ข้อ ดังนี้
- การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) อาหารมี ‘คุณภาพ’ เหมาะสมในปริมาณที่
เพียงพอ และสม่ำเสมอ ที่ชุมชนสามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น - การเข้าถึงอาหาร (Food Access) ชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารได้ ทั้งในด้านคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ
- การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) พืชผักปลอดภัยของชุมชน เน้นการเสริมให้คนในท้องถิ่นมีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี สะอาดถูกสุขลักษณะ
- การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) ชุมชนมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล ทำให้คนในท้องถิ่นสามารถ ‘เข้าถึง’ อาหารได้ตลอดเวลา
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.sdgmove.com/2024/08/07/sdg-updates-food-security-in-thailand/
- https://www.sdgmove.com/2021/05/11/sdg-vocab-food-security/#:~:text=“ความมั่นคงทางอาหารหมาย,มีคุณภาพชีวิตที่ดี”