เขียน“แผนที่เดินดิน” ด้วย “Google Map”

เขียน“แผนที่เดินดิน” ด้วย “Google Map” เครื่องมือของนักพัฒนาในยุคดิจิตอล

2 เครื่องมือนี้นำมาใช้ด้วยกันแล้วดียังไง หาคำตอบได้ในโพสต์นี้เลย!!!

สำหรับนักพัฒนาชุมชนเครื่องมือที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ หรือเรียกได้ว่าจะเป็นเครื่องมือแรก ๆ ที่เราได้เรียนรู้ นั่นคือ “แผนที่เดินดิน” (Geo-social Mapping) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลชุมชน ซึ่งข้อดีของเครื่องมือนี้ นอกจากเราจะได้รู้ในด้ายกายภาพของชุมชน ทั้งเส้นทางในหมู่บ้าน ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินของคนในชุมชนแล้ว สิ่งที่สำคัญของเครื่องมือนี้คือ เรายังได้ ‘รู้จักคน’ ในชุมชน ความสัมพันธ์ วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชุมชน ที่มาจากการพูดคุย สอบถาม ซึ่งนั่นหมายถึงว่าหากเรายิ่งรู้ข้อมูลของชุมชนอย่างลึกซึ้งเท่าไหร่ ก็จะช่วยทำให้เราสามารถวิเคราะห์ปัญหา พัฒนา รวมถึงผลักดันศักยภาพชุมชนได้อย่างถูกจุด

ซึ่งตัดกลับมาที่ปัจจุบันในยุคดิจิตอล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับเรามากที่สุด ซึ่งบางทีเราก็ไม่จำเป็นต้องเดินลงไปวาดแผนที่เองแล้ว แต่เราใช้ “Google Map” แอปพลิเคชั่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ว่าจะตรอก ซอกซอยไหน Google Map ก็ช่วยทำให้เราเห็นเส้นทางภายในหมู่บ้านได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

แผนที่เดินดิน ก้าวแรกของการเรียนรู้ชุมชน

แผนที่เดินดิน บันไดก้าวแรกที่มีความสำคัญ เครื่องมือนี้ใช้ได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่เราต้องเดินลงไปสำรวจในชุมชนอย่างทั่วถึง แผนที่เดินดินช่วยให้นักพัฒนาเห็นภาพรวมชุมชนได้ในปริมาณมาก ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และใช้ระยะเวลาสั้น รวดเร็วที่สุด เพราะได้มาจากการสังเกตด้วยตนเอง

แผนที่เดินดิน ทำให้รู้จัก “คน” และ “ชุมชน”

แผนที่เดินดิน มีความพิเศษกว่าแผนที่ธรรมดาทั่วไป ตรงที่ทำให้เราได้เห็นแผนภูมิสังคม (Geo-social mapping) ทั้งในด้านกายภาพ เช่น บ้าน พื้นที่ทำกิน สถานที่สำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้เรายังได้เห็นถึงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนในชุมชน บ้านไหนเป็นญาติกัน ซึ่งจุดสำคัญของการเขียนแผนที่เดิน ไม่ใช่แค่บันทึกอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่คือเครื่องมือที่คือทำให้เรา ‘รู้จักผู้คน’ ในชุมชน ได้เห็น และเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงพื้นที่ทางสังคมของชุมชน ซึ่งนั่นคือข้อมูลที่เราจะสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น

Google Map ใช้ง่าย เร็ว สะดวก แต่ยังไปไม่ถึง “หัวใจ” สำคัญที่นักพัฒนาต้องการ

Google Map เครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องกังวลว่าเราจะไม่รู้เส้นทาง เพียงแค่กดเสิร์จสถานที่คลิกเดียวเราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว และยังมีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย ครอบคลุมพื้นที่บนถนนและพื้นผิวอื่น ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า “การพัฒนาชุมชน” เราไม่ได้ต้องการเพียงแค่มุมมอง หรือข้อมูลในด้านกายภาพเท่านั้น เรายังต้องการข้อมูลในเชิงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วย

และจะดีกว่าไหมหากนำ “แผนที่เดินดิน” +“Google Map” มาเพิ่มประสิทธิภาพเก็บข้อมูลให้ขึ้น

นักพัฒนาในยุคเทคโนโลยีก้าวไกล และก้าวเร็ว ส่วนเราก็ต้องก้าวให้ทัน ด้วยการบูรณาการนำความรู้ดั้งเดิม และนวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ เพื่อให้งานของเราไปได้เร็วขึ้น ในเมื่อ Google Maps เป็นข้อมูลทางกายภาพอยู่แล้ว เราก็ใช้เป็นฐานตั้งต้นในการทำแผนที่เดินดิน ซึ่งก็จะช่วยประหยัดเวลาในการสำรวจพื้นที่ จากนั้นเราจึงนำเติมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ลงในแผนที่ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน สุดท้ายจึงลงสำรวจพื้นที่พูดคุย สอบถาม และสังเกตบริบทพื้นที่ รวมทั้งความสัมพันธ์ภายในชุมชน ก็จะช่วยให้แผนที่เดินดินของเรามีชีวิตมากยิ่งขึ้น

7 Step เขียน“แผนที่เดินดิน” ด้วย “Google Map”

เครื่องมือของนักพัฒนาในยุคดิจิตอล

Step1: ใช้ Google Maps ในการทำแผนที่เดินดิน

ในเมื่อเรามี Google Maps ที่เป็นแผนที่ที่กายภาพอยู่แล้ว ก็ให้นำใช้เป็นแผนที่ตั้งต้น ในการแผนที่เดินดินได้

Step2: เติมข้อมูลพื้นฐาน ชื่อ บ้านเลขที่ สถานที่สำคัญ

นำ Google Maps มาเติมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ลงในแผนที่ เช่น บ้านเลขที่ ชื่อ สถานที่สำคัญ บ้าน วัด โรงเรียน

Step3: ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ พูดคุย อย่างเป็นกันเอง

ลงสำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์ ไต่ถามเรื่องราวต่าง อย่างเป็นกันเอง และธรรมชาติที่สุด

Step4: สังเกตสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน

นอกจากข้อมูลพื้นฐาน สถานที่สำคัญ สิ่งที่ต้องเพิ่มเติม คือทรัพยากรในชุมชน หรือสาธารณูปโภคที่สำคัญต่อชุมชน เช่น บ่อน้ำ ป่าชุมชน ศาลา เป็นต้น

Step5: สังเกต สังเกตเหตุการณ์ หรือ กิจกรรมทางสังคมในชุมชน

สังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บันทึกลงในแผนที่ เช่น มีศาลาที่เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ตลาดนัด จะมีทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น

Step6: โยง “ความสัมพันธ์ในชุมชน”

เชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้วยเส้นและลูกศรพร้อมคำอธิบาย เช่น ผู้นำชุมชนกับชุมชนเป็นยังไง วัดกับเยาวชนเป็นยังไง แรงงานกับเจ้าของ โรงงานเป็นยังไง เป็นต้น

Step7: เขียนสัญลักษณ์ลงไป

เช่น กากบาท หรือ ธง หรือ ดาว ในพื้นที่ที่ควรต้องให้ความ สนใจเป็นพิเศษ หรือมีคน/กลุ่มคนในชุมชน ที่เราควรให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ

Share this post