เอาแรง ไปเกี่ยวข้าว... ไปย้อนวันวานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีแห่งความสามัคคีที่ทุกวันนี้เริ่มเลือนลางไปตามกาลเวลา
ทุ่งนาสีทองเหลืองอร่ามในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ก็เป็นสัญญาณดังมาจากธรรมชาติเพื่อบอกเราว่า “ถึงเวลาเกี่ยวข้าวแล้วสินะ” สมัยที่เราเป็นเด็ก เวลาไปเยี่ยมตา กับยายช่วงเดือนนี้ พี่ ป้า น้า อา ก็จะพาเราไปนา ตอนนั้นจำได้ว่าสนุกมาก ได้วิ่งเล่นไปตามประสา ส่วนผู้ใหญ่เขาก็ไปเกี่ยวข้าวกัน ซึ่งหากย้อนไปในสมัยก่อนที่เทคโนโลยี หรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวนาก็จะเต็มไปด้วยชาวนามากมายมารวมตัวกันเกี่ยวข้าว ในทุ่งนาก็จะได้ยินเสียงหัวเราะดังสนั่น พูดคุยกันอย่างมีอรรถรส ช่วงพักกินข้าวก็มาแชร์กับข้าว บ้างก็ข้าวเหนียว ส้มตำ ปลาร้าสับ ต้มยำทำแกงก็ว่ากันไป ซึ่งนี่คือความทรงจำของเราในประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว (แล้วของทุกคนเป็นยังไงบ้างแชร์ได้ใต้คอมเม้นเลยนะ…อยากรู้!!)
กิจกรรม และการทดลองทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน – CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 ภูมิภาคได้แก่ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสร้างต้นแบบชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีวิถีชีวิตใหม่ สังคมใหม่ที่เกื้อกูลกัน ลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตอบโจทย์เป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal – SDGs 2030)
การขับเคลื่อนงานใน 3 ภูมิภาค ครอบคลุมประเด็นการสร้างแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย, การพัฒนาอาชีพ และผู้ประกอบการชุมชน การเสริมสร้างพลังของผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังและคนในชุมชนด้วยสมุนไพร ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนปัจจุบัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนเปราะบางในชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน (น้ำ ดิน ป่าชุมชน/ป่าชายเลน) การจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตชุมชนเมืองอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนายกระดับแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในทุกภูมิภาค และการสร้างภาคีความร่วมมือแบบหุ้นส่วน เพื่อส่งเสริมกระบวนการ ทางานพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย และหน่วยงานตามภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง