“บ้าน” ที่ไม่ใช่แค่ “บ้าน” แต่คือ มีชีวิต และความต้องการพื้นฐาน “Why Collective Housing?” ทำไมต้องเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกันโดยชุมชน?
ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” โดยมี นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 13 ประเทศ และผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ทั้ง การเคหะแห่งชาติ หน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และประชาสังคม นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชน องค์กรระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวนกว่า 200 คน ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Convention Center – UNCC) กรุงเทพมหานคร
กระทรวง พม. โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเซีย มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายสถาปนิกชุมชน (CAN) หน่วยงานภาคีสนับสนุนและองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ UN-ESCAP, UN-HABITAT, International CO-Habitat Network, Development Planning Unit, University College of London, Habitat for Humanity ร่วมจัด การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) : “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2567
ซึ่งงานประชุมสัมมนาระหว่างประเทศครั้งนี้ ผศ. ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา ได้สรุปแง่คิด และบทเรียนที่ได้จากการประชุมสัมมนาครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นภาพว่า “บ้าน” ที่ไม่ใช่แค่ “บ้าน” แต่คือ มีชีวิต และความต้องการพื้นฐาน เพราะหากไม่มีบ้านมั่นคง คนก็จะไม่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น “บ้าน” ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้านเท่านั้น แต่รัฐ และองค์กรภาคประชาสังคมต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้คนได้มีบ้าน
อาจารย์ จิตติ มงคลชัยอรัญญา ได้กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ “ตัวจริง” หรือ แกนนำขับเคลื่อนงาน ทั้งภาครัฐ NGO ผู้นาชาวบ้าน นักวิชาการ จากเอเชีย ยุโรป อเมริกากลาง-ใต้ แอฟริกา รวม 18 ประเทศ เกือบ 200 คน ได้มาพบกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางานกัน ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องภาษาอยู่บ้าง แต่ผู้นำชาวบ้านไทยและจากต่างประเทศ ก็ได้เพื่อนร่วมชาติที่มา ช่วยกันแปล กิจกรรมที่จัดเข้มข้นมาก มีดูงาน 1 วัน และหากใครสนใจจะไปดูเพิ่มก็จัดให้อีกครึ่งวัน มีประชุมภาคเช้า บ่าย และค่ำ ซึ่งผมในฐานะที่มีส่วนร่วมจัดงาน ผมมองว่าการประชุมครั้งนี้สร้างปรากฎการณ์ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ร่วมทุกกิจกรรมทั้งในห้องประชุม เวทีใหญ่ ห้องย่อยต่าง ๆ”
1) คำว่า Collective Housing เป็นคำบัญญัติขึ้นใหม่เพื่อสร้างความตระหนักให้คนในภาคส่วนต่าง ๆ ให้ความสำคัญ และสนใจ ดังนั้น Collective หมายถึง การคิดร่วมกัน ทาร่วมกัน ตัดสินใจร่วม แก้ไขปัญหาร่วม ใช้ทรัพยากรร่วม และเป็นเจ้าของร่วม (เช่น โฉนดที่ดินร่วม รวมเงินกันเพื่อเป็นกองทุนร่วม กู้เงินมาทางานในโครงการร่วมกัน ร่วมกันรับผิดชอบเงินกู้ )
2) มีกระบวนการสร้างความเข้าใจผลักดันให้เรื่อง Collective Housing เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน (Human right) ว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่รัฐบาลและสังคมยอมรับว่า คนต้องมีบ้านอยู่อาศัย (ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านบนที่ดินเช่า หรือที่ดินส่วนตัว หรือที่ดินของกลุ่มก็ตาม) นั่นหมายถึงว่า ต้องสร้างกระแสว่า บ้าน ไม่ใช่เป็นเพียงสินค้า (อสังหาริมทรัพย์) อย่างหนึ่งในตลาด แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน
3) ให้คำนิยามและแสดงรูปธรรมให้เห็นว่า “บ้าน” เป็นมากกว่า “หลังคา และผนัง” หากแต่คือ การมีชีวิต การต้องทำอะไรหลายอย่างที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย หากไม่มีบ้านมั่นคง คนก็จะไม่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
4) Collective Housing มิใช่เป็นเรื่องของชาวบ้าน ทำโดยชาวบ้านเท่านั้น แต่รัฐ และองค์กรภาคประชาสังคม หรือรวม NGO ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีนโยบายสาธารณะที่สนับสนุนให้คนได้มีบ้าน Collective Housing จึงมีส่วนสร้าง Political Citizenship
5) ประเทศต่าง ๆ ในโลกล้วนมีความเหลื่อมล้ำหลากหลายมิติ รวมทั้งเรื่อง การไม่มีที่ดิน ไม่มีบ้าน เสมอ เพียงแต่รูปแบบอาจแตกต่างกันไป เช่น ในยุโรป เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ถ้าไม่มีบ้านก็เปิดบัญชีธนาคารไม่ได้ หางานทำไม่ได้ และจะทำให้ไม่มีอย่างอื่นตามมา ดังนั้น จึงต้องมี Collective Housing (เป็นอพาร์ตเมนต์ที่เป็นของสหกรณ์ผู้อยู่อาศัย สมาชิกร่วมกันเป็นเจ้าของ ร่วมกันบริหารจัดการ ร่วมจ่ายค่าน้า ค่าไฟฟ้า และร่วมรับผิดชอบหนี้สิน)
6) บ้านราคาถูกที่รัฐจัดให้ประชาชนเช่า หรือเช่าซื้อ แบบเดิม ไม่ตอบโจทย์คนจน ในขณะที่เอกชนที่ทำบ้าน อาคารขายให้คนอยู่ก็ตอบโจทย์คนชั้นกลางขึ้นไป สรุปว่า ทั้งสองโมเดลแก้ปัญหาคนจนไม่ได้
7) มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า Collective Housing ที่เข้มแข็ง สามารถตอบโจทย์ SDG เกือบทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ที่อยู่อาศัย สุขภาพ แก้ความยากจน พัฒนาคุณภาพชีวิต จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน การศึกษา วัฒนธรรม ภัยพิบัติ การพัฒนาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ฯลฯ
8) กระบวนการทำ Collective Housing คือการบูรณาการงานทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน เริ่มต้นจากรวมคนที่มีปัญหาเหมือนกัน สำรวจปัญหา ทำแผนที่ ซึ่งบางประเทศ ทำทั้งเมือง คือ สำรวจปัญหาในทุกชุมชนในเขตเทศบาล ติดต่อหน่วยงานในท้องถิ่น และหน่วยงานที่สามารถช่วยได้ แก้ปัญหาที่รุนแรงก่อน เช่นบางกลุ่มเริ่มจากแก้ปัญหาน้ำเน่าในชุมชน แล้วขยายไปเรื่องปรับปรุงผังชุมชน การปรับปรุงบ้าน การย้ายบ้านไปพื้นที่ใหม่ หาคนช่วยแนะนำออกแบบการสร้าง หรือปรับปรุงบ้านและชุมชน เจรจาเรื่องเช่าที่ดินหรือซื้อที่ดิน จัดระบบการทางานของกลุ่ม การ deal กับหน่วยงานรัฐ มีทั้งการ lobby, negotiate, advocacy, protest ต้องประสานงานกับหลายหน่วยงาน เช่น ท้องถิ่น ไฟฟ้า ประปา อาชีพ การเงิน ฯลฯ และต้องสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้นา ตลอดจนสมาชิกตลอดเวลา
9) การทำ Collective Housing จะต้องทำเป็นขั้นตอน ต่อยอดงานไปเรื่อยๆ ตามเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ที่ร่วมกันกำหนด หากเปรียบ ก็เหมือนกับการสร้างบ้าน ก็ทำทีละส่วน ทีละห้อง ตามแบบแปลนที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว หากเป็นชุมชนก็สร้างทีละหลังสองหลัง จากนั้นๆค่อยๆทยอยทำถนน ปลูกต้นไม้ทีละต้นสองต้น ฯลฯ แต่ต้องทำต่อเนื่องกัน
10) ต้องสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งในระดับภาค ประเทศ และเครือข่ายของ Collective Housing มีถึงระดับโลก และยังประสานงานกับ NGO, องค์กรระหว่างประเทศที่รับผิดชอบเรื่องงานนี้ด้วย เพราะต้องการ ความรู้ การสนับสนุน ตลอดจนอาศัยความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือต่อรองกับรัฐบาลในประเทศ
11) ขบวนการ Collective Housing ของไทย (บ้านมั่นคง บ้านพอเพียง) แข็งแรงและขยายผลไปได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะมี พอช. เป็นผู้สนับสนุน และเป็นตัวกลาง ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มีองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่แบบนี้ (ต่างประเทศมีแต่กระทรวงที่อยู่อาศัย ซึ่งดูแค่ให้มีบ้านและการก่อสร้างเท่านั้นเท่านั้น) นอกจากนี้รัฐบาลไทยก็มีนโยบายที่เปิดกว้างมากพอควร (แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยบ้าง)
ตัวอย่างการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.
- “โครงการบ้านมั่นคง” การพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด/ชุมชนบุกรุก โดยมีเป้าหมายแก้ปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัย เพื่อสร้างชุมชนที่มั่นคง “บ้าน…ที่มากกว่าคำว่าบ้าน”
- การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง เป็นการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการกำหนดมาตรการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและการสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำแนวลำคลองและทางระบายน้ำ จากการสนับสนุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและ สิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนปรับเปลี่ยนสถานะจากผู้รุกล้ำ เป็นผู้อยู่อาศัยที่ถูก มีผลการดำเนินงาน แบ่งเป็น (1) คลองลาดพร้าว 3,553 ครัวเรือน (2) คลองเปรมประชากร 1,364 ครัวเรือน
- คนไร้บ้าน มีการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน โดยสนับสนุนการสร้างชุมชนใหม่ของคนไร้บ้าน และศูนย์พัฒนาชีวิตคนไร้บ้าน 3 ศูนย์ รองรับคนไร้บ้าน 1,395 ราย/698 ครัวเรือน ในกรุงเทพ(ปทุมธานี) ขอนแก่น และเชียงใหม่
- บ้านพอเพียง “ซ่อมสร้างบ้านคนจน” เป็นการสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อยในชนบท ซึ่งมีที่อยู่อาศัยและที่ดินแล้ว แต่สภาพบ้านทรุดโทรม เกิดการปรับปรุง ซ่อมแซม และก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาส จากการดำเนินงานในปี 2560 – ปัจจุบัน (มีนาคม 2567) เกิดการปรับปรุง ซ่อมแซมและก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาส ครอบคลุม 77 จังหวัด ใน 4,904 ตำบล ผู้รับผลประโยชน์ 145,262 ครัวเรือน