ถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชน “สิ่งสำคัญของการพัฒนาชุมชน ทำงานร่วมกัน ให้ชุมชนเป็นพระเอกเสมอ”
แผนปฏิบัติการพัฒนาชุมชน ต้องเป็นปัญหาร่วม ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง
การออกแบบกิจกรรมเราจะทำแผนปฏิบัติการร่วมกับชุมชน ชวนเขาวิเคราะห์ปัญหา หรือสิ่งที่อยากพัฒนาเพิ่มเติม หลังจากที่ออกแบบเสร็จเราก็จะมีการพูดคุยหารือกัน นอกจากนี้แผนปฏิบัติการร่วม แผนปฏิบัติการรายชุมชน การวิเคราะห์ปัญหา จะต้องคิดถึงปัญหาร่วมทั้งชุมชน และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงทรัพยากรที่มีในชุมชน โดยไม่ใช่ความต้องการใครคนใดคหนึ่ง
นักพัฒนาจะต้องช่วยวางแผนให้ชุมชนเติบโตได้ในระยะยาว สร้างภาคีเครือข่ายให้ชุมชนไปต่อได้ในวันที่ไม่มีเรา
เวลาลงชุมชนแต่ละครั้งจะต้องมีเป้าหมาย ร่วมกันวางแผน เก็บข้อมูล หาแนวทางการทำงานต่อ รวมไปถึงการเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้ามาร่วมในระยะยาว และจะเป็นเพื่อนร่วมทางในการทำงาน โดยทีมจะมองอยู่ 3 ระดับ
1. ชุมชนให้แข็งตัวระดับหนึ่งก่อนเราจะไม่เชิญหน่วยงานแบบเต็มร้อย
2. สร้างกลไกชุมชนข้ามหมู่บ้านให้เป็นเพื่อนกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3. เมื่อชุมชนดำเนินการได้เองจึงชวนหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วม
จริง ๆ แล้วหน่วยงานมีภารกิจของงานตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะต้องดูภารกิจและบทบาทของหน่วยงานเป็นหลัก เช่น หน่วยงานท้องถิ่นจะดูในเชิงนโยบายและงบประมาณ ถ้าในแผนมีและตรงกันสามารถดันกันได้ก็เชิญชวนมาทำร่วมกัน
ใช้เครื่องมือที่เรียกว่าการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Interactive Learning through Action) หรือ PILA การดึงคนหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม
การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Interactive Learning through Action) หรือ PILA การดึงคนหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม มีอยู่ 3 หลัก
- ร่วมคิด ทำให้ชุมชนเห็นปัญหา เป้าหมาย ของฐานของเขาเอง คิดที่จะกำหนดอนาคตของตัวเอง และวางแผนออกมา
- ร่วมทำ สร้างคนทำงานไม่ว่าจะเป็นผู้นำ ทีม พัฒนาระบบกลุ่มโดยเราเป็นพี่เลี้ยง มีการทดลองพื้นที่ ทำซ้ำ ขยายผล
- ร่วมเรียนรู้ มีการสรุปผล ติดตามผล สรุปบทเรียน ว่างแผนตามสถานณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การศึกษาข้อมูลและการวางแผนที่ดี มองเป้าหมายร่วมกัน
ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้
การมองความเป็นจริงด้วยเหตุและผล มีการศึกษาข้อมูลและการวางแผนที่ดี ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้
การที่นักพัฒนา และชุมชน มาร่วมพูดคุยวางแผน มองเป้าหมายร่วมกัน สรุปผลการทำงานร่วมกัน รวมทั้งปรับกระบวนการทำงานที่เกิดปัญหาให้ครั้งต่อไปไม่เกิดขึ้นอีก เคารพความคิดเห็นยอมรับฟังซึ่งกันและกัน ผลที่กลับมาอาจจะไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เราปรับกระบวนการทำให้ได้ลองวิธีการใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ได้มากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ด้วยเช่นกัน
บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ที่ทีมพื้นที่ทำ คือ จริงใจ ใส่ใจ รับฟัง พูดภาษาเดียวกันกับชุมชน ดึงพลังของชุมชนออกมาทำงาน
ด้วยบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เราต้องทำงานไม่ว่าจะในชุมชน และส่วนราชการ ดังนั้นการสื่อสารก็จะต้องปรับไปตามสถาณการณ์ ถ้าเราทำงานกับหน่วยงาน ก็ใช้ภาษาราชการ แต่ถ้าเราคุยกับชาวบ้านก็แปลงภาษาราชการเป็นภาษาที่เขาเข้าใจได้ พูดด้วยความชัดเจน และรับฟังอย่างเข้าใจ การจริงใจกับชุมชน จะทำให้เราจะเข้าถึงเขาได้ พยายามแสดงความจริงใจว่าเราเข้ามาแล้วเขาจะยืนได้ด้วยตัวเองได้ ฟังอย่างใส่ใจในสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อสาร เราไม่ได้เข้ามาในเชิงสั่ง แต่เราจะพยายามให้เขาเสนอไอเดียต่าง ๆ ปล่อยให้ชุมชนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยน และเราเป็นพูดรับฟังที่ดี ตั้งคำถาม โยนคำถามให้เขาคิด แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็ค่อยจับมือทำไปพร้อม ๆ กัน