บทความและความรู้ทั่วไป

“บ้าน” ที่ไม่ใช่แค่ “บ้าน” แต่คือ มีชีวิต และความต้องการพื้นฐาน

“บ้าน” ที่ไม่ใช่แค่ “บ้าน” แต่คือ มีชีวิต และความต้องการพื้นฐาน “Why Collective Housing?” ทำไมต้องเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกันโดยชุมชน? ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing Conference) ภายใต้แนวคิด “คำตอบคือชาวชุมชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แก้ไขปัญหาควายากจน สร้างคนและชุมชนที่เข้มแข็ง กุญแจสู่ความยั่งยืน” ชูประเด็น “การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ที่ชุมชนเป็นหลัก (Collective Housing)” โดยมี นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกกว่า 13 ประเทศ และผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ทั้ง การเคหะแห่งชาติ…

Read more

Water Footprint ร่วมกันตระหนัก “รักษ์น้ำ”

Water Footprint ร่วมกันตระหนัก “รักษ์น้ำ” แม้ว่าบนโลกสีฟ้าของเรานี้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 80% แต่เป็นน้ำจืดเพียงแค่ 3% และน้ำจืดส่วนใหญ่ก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งมากถึง 70% นั่นหมายความว่า เรามีน้ำจืดที่ใช้ได้ไม่ถึง 1% ของน้ำบนโลก เพียงเท่านั้น และถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่น้ำที่ถูกใช้ไปแล้วก็ไม่สามารถกลับมาใสสะอาดดังเดิมได้ หรือหากจะให้กลับมาใสสะอาดก็ต้องเปลือกทรัพยากรในการทำให้มันกลับมาเป็นเหมือนก่อนหน้า ในแทบทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลก มักหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรน้ำแทบไม่ได้ ในระหว่างวันที่เราดื่มน้ำเข้าไป แล้วร่างกายขับน้ำออกมาเป็นเหงื่อหรือปัสสาวะ น้ำเหล่านั้นก็กลายเป็นของเสียที่ไม่สามารถนำกลับมาดื่มได้อีก เหมือนการใช้น้ำในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการทำเกษตรกรรม เมื่อใช้น้ำเสร็จแล้วก็ต้องบำบัดก่อนที่จะปล่อยกลับสู่แหล่งน้ำ หรือนำกลับไปใช้ใหม่ ในทุกๆ วัน กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ล้วนสร้างให้เกิด “รอยเท้าการใช้น้ำ” หรือ “Water Footprint” ทั้งที่เป็น Direct Water Use คือ น้ำที่เรานำไปใช้โดยตรง เช่น น้ำดื่ม การอาบน้ำ ซักผ้า และ Indirect Water Use (หรือ Virtual Water Use หรือ Hidden…

Read more

เที่ยวอย่างรู้คุณค่าชุมชน Creative Tourism “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”

เที่ยวอย่างรู้คุณค่าชุมชน Creative Tourism “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวทางเลือกอย่าง การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based-Tourism หรือ CBT) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมาโดยตลอด ไม่เพียงสร้างรายได้กับชุมชน แต่ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน บทพื้นฐานนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดการชุมชนตามบริบทและสถานการณ์ การกระจายรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปจนถึงการกำหนดทิศทาง และอนาคตของชุมชน ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยจะได้รับความสนใจในวงกว้าง แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการท่องเที่ยวในลักษณะ “ชม-ชิม-แชะ-ช้อป” ที่นักท่องเที่ยวมักนิยมเที่ยวเฉพาะในช่วงเทศกาล หรือบางชุมชนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อตอบสนองความต้องการของท่องเที่ยว ไปจนถึงในบางชุมชนที่มีชื่อเสียงทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ก็ส่งผลเสียต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมชุมชน ประกอบกับในปัจจุบันมีการพูดถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของโลก สู่แนวคิด อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries), เมืองสร้างสรรค์ (Creative cities) และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ใช้ศักยภาพของวัฒนธรรมชุมชน ทั้งรูปแบบของวัตถุและนามธรรมเข้ามามีบทบาทในการจัดการท่องเที่ยว สนับสนุนให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้มาเยือนและนักท่องเที่ยว ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special Interest…

Read more

Farm stay for Health

จากฟาร์มสเตย์ สู่ “Farm stay for Health” การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงชุมชน เป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro Tourism) ในไทยได้รับความสนใจ เกษตรกรหลายรายผันตัวเองจากการเป็นเพียงผู้ผลิตสู่ผู้ประกอบการทางการท่องเที่ยว เปิดนา ไร่ สวน ของตนเองให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม จัดกิจกรรมทางการเกษตร รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผลผลิตภายในฟาร์มให้นักท่องเที่ยวได้ช้อปปิ้ง บางรายก็ขยับขยายสร้างห้องพักให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสบรรยากาศ หรือพักผ่อนหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมเดิม ๆ เปิดเป็น ฟาร์มสเตย์ (Farm stay) ในหลายภูมิภาคของประเทศ การท่องเที่ยวแบบ Farm stay ที่ทำให้ผู้มาเยือนได้รับประสบการณ์ สัมผัสสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ ได้มีส่วนร่วม เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตเชิงเกษตรกรรมและวัฒนธรรมชุมชน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนเรียนรู้ธรรมชาติและการดูแลสิ่งแวดล้อม Farm stay ในประเทศญี่ปุ่นได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยรูปแบบที่คนในชุมชนร่วมไม้ร่วมมือกันเปิดชุมชนตัวเองเป็นฟาร์มสเตย์ ใช้จุดแข็งของชุมชนเช่น ธรรมชาติที่สมบูรณ์ วิถีชีวิตดั้งเดิม สร้างสรรค์กิจกรรมเหมือนที่เราได้เห็นในการ์ตูนหรือหนังญี่ปุ่น ให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นในชนบท นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำอาหารให้กิน เดินสำรวจป่า ปิกนิกในป่าหรือข้างนาข้าว ขี่จักรยานวนรอบภูเขา ทำกิจกรรมในหมู่บ้านอย่าง เกี่ยวข้าวร่วมกับชาวบ้าน…

Read more

Creative Tourism “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์”

เที่ยวไป กินไปแบบ “Gastronomy Tourism” โอกาสของชุมชน ถ้าพูดถึง Gastronomy Tourism หลายคนอาจจะงงกับชื่อนี้ แต่ถ้าเป็น “การท่องเที่ยวเชิงอาหาร”, “Food Tourism” หรือ “การท่องเที่ยวแบบเที่ยวไปชิมไป” ก็อาจจะร้องอ๋อ! ..ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตาม แต่เราเชื่อว่า ในทุกๆ การเดินทางท่องเที่ยว นอกจากการได้ไปเห็นธรรมชาติที่สวยงาม บ้านเมืองที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง การสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ อีกสิ่งที่เราต่างมองหานั่นคือ ของกินอร่อยๆ หรืออาหารพื้นเมืองที่ไม่เคยลิ้มลอง โดยเฉพาะประเทศไทยหนึ่งในเมืองที่มีชื่อเสียงด้านอาหารอันดับต้นๆ ของโลก ที่มีอาหารอร่อยๆ ในทุกภูมิภาค . การท่องเที่ยวเชิงอาหาร “Gastronomy Tourism” เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่มาแรงในช่วง 5-10 ปีนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลของศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ องค์กรช่วยเหลือภาคธุรกิจในการค้นหาไอเดียต่อยอดบอกว่า นักท่องเที่ยวมากถึงร้อยละ 53 เลือกที่เที่ยวจากอาหารและเครื่องดื่ม แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การท่องเที่ยวลักษณะนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมเสมอมา ประกอบกับนักท่องเที่ยวยุคใหม่ให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวในสถานที่เที่ยวใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครไปถึง (Off the Beaten Path) ในขณะเดียวกันก็เสาะแสวงหาอาหารท้องถิ่นที่มีความแปลกใหม่ รสชาติแตกต่างแต่ละพื้นที่ ทั้งยังชอบเสพเรื่องราว (Story)…

Read more

มารู้จัก “Meaningful Travel” ท่องเที่ยวอย่างไรให้ยั่งยืน

มารู้จัก “Meaningful Travel” ท่องเที่ยวอย่างไรให้ยั่งยืน “Meaningful Travel” เทรนด์การท่องเที่ยวสไตล์ใหม่ หลังยุคโควิด-19 หลังวิกฤติโควิด-19 พรากโอกาสการเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า 2 ปี ผู้คนทั่วโลกต่างโหยหาการเดินทางท่องเที่ยว องค์กรด้านการท่องเที่ยวทั่วโลกให้ข้อมูลไปในทางเดียวกันถึงกระแส “Reunion” ที่ผู้คนต้องการกลับมาพบปะสังสรรค์กันอีกครั้ง นั่นส่งผลให้เทรนด์การท่องเที่ยวแบบฉายเดี่ยว “Solo” ที่เคยได้รับความนิยมเปลี่ยนแปลงไป แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวชั้นนำอย่าง Klook เปิดเผยผลวิจัยว่า 70% ของกลุ่มนักท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิกต้องการท่องเที่ยวกับเพื่อน มีเพียง 30% เท่านั้นที่ยังสนใจเดินทางคนเดียว หลังจากปีแห่งการกักตัว ปีแห่งความโดดเดี่ยว ปีแห่งความอ้างว้าง ผู้คนไม่เพียงแต่ต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ แต่พวกเขากำลังมองหาความหมาย, ช่วงเวลาไตร่ตรองชีวิต และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากขึ้น นั่นทำให้การท่องเที่ยวไม่ใช่แค่การพักผ่อนเท่านั้น แต่ยังเป็น “การนำเอาความสุขกลับคืนมา” และ “สร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวนักท่องเที่ยวกับผู้คน” เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งธงเป้าหมายรายได้ 2.38 ล้านบาท ด้วยแคมเปญ “ปีท่องเที่ยวไทย 2566” และ “Visit Thailand Year 2023 : Amazing…

Read more

ปลูกป่ายังไงให้ได้เห็ด

ปลูกป่ายังไงให้ได้เห็ด “เห็ดระโงก ราชาเห็ดอีสาน” กับ “ต้นยางนา” ในป่าปลูก (2558) ชุมชนบ้านนางิ้ว วันนี้จะชวนชุมชนคน D ลงพื้นที่ป่าชุมชนบ้านนางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น วันนี้เราจะพาทุกคนไปเก็บ “ราชาเห็ดอีสาน”กัน ที่เขาบอกว่าขายได้ราคาดีมาก ถึงกิโลกรัมละประมาณ 500 บาท ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ “เห็ดระโงก” กันก่อน ว่าคือเห็ดนี้คืออะไร? เห็ดระโงก ถูกขนาดนามว่าเป็น “ราชาเห็ดอีสาน” “นอกฤดูกาลราคาแพงถึงกิโลกรัม 500” เป็นราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ที่มีความสัมพันธ์กับไม้วงศ์ยาง และอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันกับเซลล์ของรากพืช แลกเปลี่ยนน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ไมคอร์ไรซายังช่วยป้องกันเชื้อก่อโรคที่จะเข้ามาทางรากไม้ได้อีกด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเห็ดระโงก ได้แก่ ปริมาณแสง ความชื้นบริเวณผิวดิน อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ รวมถึงความหนาแน่นของอินทรียวัตถุเหนือพื้นดิน เมื่อพอถึงฤดูฝน ทั้งความชื้น ธาตุอาหาร และสภาพแวดล้อมเหมาะสม เห็ดระโงกก็งอกให้เราได้เก็บกิน แล้วทำไมเมื่อมี “ต้นยางนา” ถึงมี “เห็ดระโงก” ในธรรมชาติเราพบเห็ดระโงกในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าที่มีลักษณะค่อนข้างโปร่ง มีแสงแดดส่องถึงพื้นล่าง…

Read more

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชน ป่าภูมิรักษ์ บ้านห้วยยาง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชน ป่าภูมิรักษ์ บ้านห้วยยาง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น สำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และมูลค่าป่าในชุมชน โดยใช้กระบวนการสำรวจป่าเข้ามาเป็นเครื่องมือให้ชุมชนได้เห็นระบบนิเวศในป่า ความหลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืชในป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้สามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างคุ้มค่า โดยวิธีการสำรวจนั้น โครงการฯจะลงร่วมกับผู้นำในชุมชน เพื่อให้ผู้นำนั้นสามารถที่จะถ่ายถอดองค์ความรู้การสำรวจป่าให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ยังเชิญปราชญ์ หรือหมอสมุนไพรชุมชน ลงร่วมกัน เพื่อให้ได้มองเห็นถึงความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในป่า ป่าชุมชนภูมิรักษ์โดดเด่นเรื่อง “สมุนไพร” ที่พบพืชสมุนไพรมากถึง 51 ชนิด โดย 3 อันดับแรก ที่พบมากที่สุดคือ ปีกไก่ดำ โปร่งฟ้า หญ้ารีเเพร์

Read more

สำรวจป่าดงบัง

ชวนมาสำรวจความหลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ และความหนาแน่นของป่าชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น สำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และมูลค่าป่าในชุมชน โดยใช้กระบวนการสำรวจป่าเข้ามาเป็นเครื่องมือให้ชุมชนได้เห็นระบบนิเวศในป่า ความหลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืชในป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้สามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างคุ้มค่า โดยวิธีการสำรวจนั้น โครงการฯจะลงร่วมกับผู้นำในชุมชน เพื่อให้ผู้นำนั้นสามารถที่จะถ่ายถอดองค์ความรู้การสำรวจป่าให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ยังเชิญปราชญ์ หรือหมอสมุนไพรชุมชน ลงร่วมกัน เพื่อให้ได้มองเห็นถึงความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในป่า ป่าชุมชนบ้านดงบังโดดเด่นเรื่อง “ความหลากหลายของพืช” และ “สมุนไพร” จากการสำรวจ 1,000 ตารางเมตรนั้น พบความหลากหลายของพืชถึง 840 ต้น 70 ชนิดพันธุ์ และสมุนไพรถึง พืชสมุนไพร 37 ชนิด โดย 3 อันดับแรก ก้นครก หญ้ารีเเพร์ พลับพลา

Read more

ปัจจุบัน และอนาคต “เกษตรอินทรีย์” ไทย

ปัจจุบัน และอนาคต “เกษตรอินทรีย์” ไทย เชื่อว่าเมื่อพูดถึง “เกษตรอินทรีย์” (Organic Agriculture) ใคร ๆ ต่างก็เคยได้ยินคำนี้แทบจะทั้งนั้น รัฐบาลไทยเองก็บรรจุแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566-2570 ลงไปในนโยบายแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีแนวทาง 1) การส่งเสริมวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงฐานข้อมูลด้านเกษตรอินทรีย์ 2) การพัฒนาศักยภาพการผลิต และการบริหารจัดการตลอดโซ่อุปทาน 3) ยกระดับมาตรฐานและระบบรับรองเกษตรอินทรีย์ และ 4) พัฒนาการตลาดและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ มีแนวคิดแตกต่างจากเกษตรกระแสหลักที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิต แต่เกษตรอินทรีย์เป็นการทำเกษตรแบบองค์รวม เน้นความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์ม จัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ ใช้กระบวนการการเรียนรู้และภูมิปัญญา เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (Positive management) นอกจากนี้เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น ฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม อ่อนน้อมและเคารพต่อธรรมชาติ สอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชุมชนเกษตรพื้นบ้าน นั่นทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างจากเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็มักออกมาพูดถึงความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ พื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ.2562 มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกรวม 481.785 ล้านไร่ แต่นั่นก็เป็นเพียง 1.5%…

Read more