ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

How to วิธีการสำรวจความหลากหลายของพรรณพืช “ในป่าชุมชน”ได้ด้วยตัวเอง

“How to” วิธีการสำรวจความหลากหลายของพรรณพืช “ในป่าชุมชน”ได้ด้วยตัวเอง ป่าชุมชนภูมิรักษ์ บ้านห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น Read more.. ป่าชุมชนบ้านดงบัง ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น Read more.. ป่าชุมชนนางิ้ว (ป่าธรรมชาติและป่าปลูก) ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น Read more.. ป่าชุมชน บ้านโคกศรี ต.นาดี อ.หนองแสง จ.อุดรธานี Read more..

Read more

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนบ้านโคกศรี

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนบ้านโคกศรี ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สำหรับการสนับสนุน และถ่ายทอดองคความรู้ในจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และมูลค่าป่าในชุมชน โดยใช้กระบวนการสำรวจป่าเข้ามาเป็นเครื่องมือให้ชุมชนได้เห็นระบบนิเวศในป่า ความหลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืชในป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้สามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างคุ้มค่า โดยวิธีการสำรวจนั้น โครงการฯจะลงสำรวจร่วมกับผู้นำในชุมชน เพื่อให้ผู้นำนั้นสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้การสำรวจป่าให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ยังเชิญปราชญ์ หรือหมอสมุนไพรชุมชน ลงร่วมกัน เพื่อให้ได้มองเห็นถึงความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในป่า ป่าชุมชนโคกศรีโดดเด่นเรื่อง “สมุนไพร” และ “ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ” โดยพืชสมุนไพร 35 ชนิด 3 อันดับแรก ที่พบมากที่สุดคือ มะกอกเกลื้อน ก้นครก เเดง และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ได้ 11 ชนิดพันธุ์ พบมากที่สุด 3 อันดับแรก เเดง ยางเหียง เต็ง

Read more

สบู่จากสารสกัดใบยางนา

สบู่จากสารสกัดใบยางนา วันนี้ Dcommunity จะพาชุมชนคน D ลงไปดูแม่ ๆ บ้านนางิ้ว และ บ้านนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนที่นำเอา “ใบยางนา” มาต่อยอดสู่ “สบู่จากสารสกัดใบยางนา” ที่ชุมชนสามารถทำได้ ทำง่าย ใช้ได้เอง “สำหรับ” โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ ผศ. ดร.สมพร เกษแก้ว และทีมวิทยากรจากศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ศูนย์การเรียนรู้ยางนาบูรณาการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม เติมความรู้ การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ “ประเด็นสำคัญ” ในการอบรมครั้งนี้คือ การเติมความรู้ให้กับชุมชนบ้านนางิ้ว และ บ้านนาโพธิ์ รู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จากยางนา นั่นคือ “การทำสบู่จากยางนา” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำง่ายที่สุด ชุมชนสามารถเรียนรู้ และนำไปใช้ได้จริง โดยโครงการฯได้พาผู้เชี่ยวชาญลงไปอธิบายขั้นตอน และสาธิตวิธีการทำ ตั้งแต่กระบวนการเตรียมอุปกรณ์ การสกัดยางนา ไปจนถึงการทำผลิตภัณฑ์สบู่จากสารสกัดใบยางนา เพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่ “สำหรับการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน” ทีมนวัตกรรม ร่วมกับทีมสนามได้ศึกษาข้อมูล…

Read more

เยาวชนคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศ

“เยาวชนคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศ” พวกเราชุมชน D Community เชื่อว่า “เยาวชนคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศ” ซึ่งในวันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติ เราจึงอยากพาไปรู้จักกลุ่มเยาวชนบ้านเขาน้อย อ.ควนโดน จ.สตูล ซึ่งพวกเขาใช้เวลาว่างรวมตัวกันเพื่อพัฒนาชุมชนตัวเองให้กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับคนในชุมชน ในครั้งนี้น้องๆได้ลงสํารวจเก็บข้อมูลทางธรรมชาติของเขาภูน้อย ภูเขาที่เป็นจุดแลนด์มาร์ค และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชน ภูเขาลูกนี้จะถูกพัฒนาเป็นเส้นทางถนนสายสุขภาพ (เเนวดิ่ง) เพื่อขยายให้เป็นเส้นทางเรียนรู้ธรรมชาติป่าชุมชนบ้านเขาน้อย ให้กับนักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจและชื่นชอบการวิ่ง trial และผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติ น้องๆกลุ่มนี้คือ”เยาวชนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน” ทำงานพัฒนาในชุมชนนี้ด้วยจิตสาธารณะในการทำตนให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ซึ่งสุดท้ายแล้วบ้านเขาน้อยนั้นจะมีเยาวชนผู้นำรุ่นใหม่สืบทอดหน้าที่ผู้นำขับเคลื่อนงานพัฒนาในชุมชนต่อไป. โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน – CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 ภูมิภาคได้แก่ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสร้างต้นแบบชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีวิถีชีวิตใหม่ สังคมใหม่ที่เกื้อกูลกัน ลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม…

Read more

ธนาคารต้นกล้าป่าชายเลน

“ธนาคารต้นกล้าป่าชายเลน” โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นกล้าป่าชายเลนชุมชนคลองหัวจาก ธนาคารเพาะกล้าของชุมชนคนทำดี จากแรงบันดาลใจของชาวชุมชนคลองหัวจาก ที่อยากแก้ไขปัญหาดินเลนของป่าชายเลนภายในโรงเรียนพระพิมลเสนี (พร้อม หงสกุล) แหล่งศึกษาของลูกหลานพวกเขาที่เสื่อมโทรม ดินเลนส่งกลิ่นเน่าเหม็น ให้กลับมาเป็นป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำได้เหมือนในอดีต ทำให้ชาวชุมชนคลองหัวจากจับมือกันร่วมแรงร่วมใจ ปรับปรุงสภาพดินเลน รวมถึงจัดระเบียบภายในป่าชายเลน และปลูกกล้าไม้หลากหลาย เพิ่มปริมาณต้นไม้ ตลอดจนปรับปรุงให้ป่าชายเลนในชุมชนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ช่วงแรกของการแก้ปัญหาป่าชายเลนในชุมชน พวกเขาต้องเรียนรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาดิน การทำคลองไส้ไก่ การโพรงดินให้น้ำไหลสะดวก การเติมจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้ดิน จนถึงการเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ภายในป่าชายเลนของพวกเขา จากภูมิปัญหาและองค์ความรู้จากการศึกษาดูงาน ทำให้ชาวชุมชนคลองหัวจากสามารถเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนได้ด้วยตัวเอง ไม่เพียงแต่ใช้ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณไม้ในป่าชายเลนของชุมชน แต่พวกเขายังก่อตั้ง “ธนาคารต้นกล้าป่าชายเลน” เพื่อแบ่งปันพันธุ์ไม้จำหน่ายแก่หน่วยงาน และผู้ที่สนใจ โดยรายได้จากการจำหน่ายนอกจากตอบแทนให้กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ ยัง Return กลับสู่ชุมชนเพื่อใช้พัฒนาพื้นที่และแหล่งเรียนรู้ และอีกส่วนสมทบเข้ากองทุนโรงเรียนพระพิมลเสนี (พร้อม หงสกุล) เป็นค่าอาหารกลางวัน และทุนการศึกษาแก่นักเรียน ลูกหลานพวกเขา ต้นกล้าของพวกเขา ทั้งโกงกาง ตะบูน ลุ่ย เหงือกปลาหมอ นอกจากจะเพาะขึ้นมาจากต้นพันธุ์ในชุมชน ไม่ต้องซื้อพันธุ์ไม้จากแหล่งอื่น พวกเขายังเพิ่มกิมมิครักษ์โลกด้วยการใช้ “ตะกร้าสานใบจาก” แทนถุงพลาสติกที่นอกจากจะเป็นขยะแล้ว กระบวนการผลิตยังทำร้ายโลก แถมยังช่วยให้ต้นไม้ยึดเกาะกับดินเลนได้ดี และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย จากข้อมูลการจำหน่ายต้นกล้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นกล้าป่าชายเลนชุมชนคลองหัวจาก ปี…

Read more

ดินดี ปลูกอะไรก็งาม

“ดินดี ปลูกอะไรก็งาม” “บ้านทุ่งบ่อ” จากดินเค็ม 100% ในวันนั้น ปัจจุบันปลูกผักก็งาม สู่การสร้างวิสาหกิจชุมชน “ผักปลอดภัย” “บ้านทุ่งบ่อ” อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ร่วมมือ ร่วมใจกันพัฒนาพื้นที่รอบ “หนองขุมดิน” ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การพัฒนานวัตกรรมชุมชน เพื่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจน ให้สามารถบรรเทาลงได้บ้างในสังคมนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน จริง ๆ แล้วพื้นที่นี้ เป็นหมู่บ้านเกษตรกร “แต่มีปัญหา” เรื่อง “ดิน” ที่มีความเค็มมาก ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น เพราะสภาพดินเป็นดินก้นบ่อ ซึ่งจากการนำดินไปตรวจนั้น ผลออกมาเป็นโซเดียม 100% ในขั้นแรกชาวบ้านใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยการรวมกลุ่มกันปลูกปอเทือง เพื่อปรับสภาพดิน แต่ดินก็ยังไม่สามารถปลูกผัก หรือพืชอื่น ๆ ได้ จากนั้นโครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ได้เข้ามาช่วยเติมข้อมูล ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยปรับดิน โดยใช้สูตรปุ๋ยวิชาการ และทำการทดลองใช้เวลาเกือบ 1…

Read more

เปลี่ยนของเสีย มาเป็นของดี สร้างสิ่งแวดล้อมดีในชุมชน

เปลี่ยนของเสีย มาเป็นของดี สร้างสิ่งแวดล้อมดีในชุมชน D community ชวนมาคุ้มครองโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้น เพราะวันนี้เรามีตัวอย่างชุมชนต้นแบบ ชุมชนหมู่ 2 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งใน 3 พื้นที่ปฏิบัติการ (ภาคตะวันออก) ของโครงการ CEIS ที่เปลี่ยนของเสีย มาเป็นของดี สร้างสิ่งแวดล้อมดีในชุมชน จึงอยากชวนทุกคนมา “แปลงโฉมเศษอาหาร” เป็นปุ๋ยสารอาหารแน่น ทำใช้ก็ได้ ทำขายก็ดี จากเศษอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ชุมชนหมู่ 2 ตำบลท่าข้าม แปลงโฉมของเสียเหล่านั้น เพิ่มมูลค่าให้เป็น “ปุ๋ยจากเศษอาหาร” หนึ่งในวิธีการจัดการขยะย่อยสลายในครัวเรือน และปัจจุบันของชุมชนได้ทำมาไปใช้ในสวนทำให้พืชผักเจริญงอกงามได้ดีแล้ว ยังได้กลายมาเป็นอาชีพเสริม และขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้ที่สนใจ

Read more

“ซั้งกอเปลือกหอย” แก้ปัญหาขยะเปลือกหอยในชุมชน

“ซั้งกอเปลือกหอย” แก้ปัญหาขยะเปลือกหอยในชุมชน D community ชวนมาคุ้มครองโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้น เพราะวันนี้เรามีตัวอย่างชุมชนต้นแบบ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราอ.บางปะกง หนึ่งใน 3 พื้นที่ปฏิบัติการ (ภาคตะวันออก) ของโครงการ CEIS ที่อยากพาทุกคนมาดูนวัตกรรม “ซั้งกอเปลือกหอย” แก้ปัญหาขยะเปลือกหอยในชุมชน และตัวช่วยที่ทำให้เกิดห่วงโซ่อาหารในพื้นที่แม่น้ำบางปะกง “ซั้งกอเปลือกหอย” นวัตกรรมเพื่อช่วยจัดการขยะเปลือกหอย ให้กลายมาเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ CEIS ซึ่งมองเห็นว่าพื้นที่บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ของปากแม่น้ำ มีลักษณะเป็นน้ำกร่อย และชุมชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งมีอาชีพเป็นประมงชายฝั่ง ซึ่งมีการทำซั้งกอแบบเดิมหรือกล่ำเพื่ออนุบาลสัตว์อยู่บ้าง นอกจากนี้ชุมชนในพื้นที่ยังมีอาชีพแกะเนื้อหอยเพื่อจำหน่าย จึงทำให้มีเปลือกหอยเป็นขยะเน่าเสียในพื้นที่ ดังนั้นพื้นที่บางปะกงจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการการนำผลงานซั้งกอของเยาวชนจากโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จ.ตรัง ภายใต้ โครงการ Move World together เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม (MWT ปี 8 มาพัฒนาต่อยอดและศึกษาในพื้นที่ใหม่ รวมถึงแก้ปัญหาขยะเปลือกหอยในชุมชนไปได้อีกด้วย ซั้งกอ (คิวบิก) ที่ได้นำมาต่อยอด และออกแบบใหม่ ได้เพิ่มโครงสร้างให้มีความซับซ้อนทั้งหมด 27…

Read more

ซั้งกอเปลือกหอย

“ซั้งกอเปลือกหอย” บ้านปลาคิวบิกแหล่งหลบภัยรูปแบบใหม่ ที่ปากแม่น้ำบางปะกง วันนี้มาชวนชาว D Community ร่วมกันวางซั้งกอ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพซั้งกอจาก “เปลือกหอย” ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของ กฟผ. โรงไฟฟ้าบางปะกง โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงสมาชิกชุมชนหมู่ 2 ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา “ซั้งกอ” แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำจากภูมิปัญญาพื้นบ้านในท้องถิ่น สร้างจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในชุมชน ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อม บางพื้นที่ทำจากแหเก่า อวนเก่า ผูกกับไม้ไผ่ หรือบางพื้นที่ก็ทำจากทางมะพร้าว ตั้งไว้ในบริเวณที่เหมาะในการอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นต้น สำหรับชาวหมู่ 2 “ตำบลท่าข้าม” “เปลือกหอย” และ “กิ่งแสม” เห็นทีจะเป็นวัสดุและอุปกรณ์สำคัญในการทำบ้านปลาให้กับเหล่าสมาชิกตัวเล็กใช้เป็นที่อาศัย และหลบภัย ก่อนจะไปเติบโตในแม่น้ำบางปะกง การทดลองวางซั้งกอได้วางทั้งหมด 3 รูปแบบ โดยแบบที่ 1 ซั้งกอแบบเดิมจากกิ่งแสม แบบที่ 2 ซั้งกอคิวบิกปูน และแบบที่ 3 ซั้งกอคิวบิกเปลือกหอย ใช้ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อหาซั้งกอที่เหมาะสมทนต่อสภาพน้ำกร่อยและกระแสน้ำที่แตกต่างจากทะเล…

Read more

เพาะกล้า ปลูกป่า หยอดเมล็ดพันธุ์รักษ์โลก

เยาวชนนางิ้ว-นาโพธิ์ เรียนรู้การเพาะชำกล้าไม้ “เพาะกล้า ปลูกป่า หยอดเมล็ดพันธุ์รักษ์โลก” คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านนางิ้ว-นาโพธิ์ ชวนลูกหลานเยาวชน นักเรียนโรงเรียนนางิ้ว-นาโพธิ์ และโรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ เรียนรู้การอนุรักษ์ป่า การเพาะชำกล้าไม้อย่างถูกวิธี เทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์ และการดูแลต้นกล้าที่เพาะชำ พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเมล็ดพันธุ์ การผสมดินสำหรับเพาะชำ การเพาะชำ ร่วมกับคณะกรรมการป่าชุมชนฯ ผู้นำชุมชน อบต.นางิ้ว และชาวบ้านนางิ้ว-นาโพธิ์ โดยเชิญทีมงานสวนรุกขชาติ เขาสวนกวาง มาเป็นผู้ให้ความรู้ นอกจากจะได้รับความรู้ทางการอนุรักษ์ป่า ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าชุมชน เยาวชนที่เข้าร่วมยังได้ทดลองปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงประจักษ์ ที่คณะกรรมการป่าชุมชนฯ และเราเชื่อว่า การได้ลงมือปฎิบัติ ได้จับต้นไม้ ได้สัมผัสดิน จะเป็นการเพาะกล้าความเป็นนักอนุรักษ์แก่เยาวชนเหล่านี้ ได้ปลูกต้นไม้ลงในใจของพวกเขา ให้ได้เติบโตขึ้นและพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติด้วยตนเองในอนาคต

Read more