Stakehoder

พิมพ์ชนก พิชัยกาล

การศึกษาชุมชนคือทุกอย่าง คน อารมณ์ ความรู้สึก ความขัดแย้ง เหมือนหาจิ๊กซอว์มาปะติปะต่อกับโครงการของเราได้ ซึ่งเป้าหมายคือ
เราจะทำอย่างไรให้เขาใจเขามากที่สุดเข้าใจในสถานการณ์นี้ที่เขาต้องเจอ เข้าใจที่ใช่ตามหลักสากลทั่วไป แต่ต้องเขาใจในมุมของเขา

Read more

ดร.ชลกานดาร์ นาคทิม

การค้นหาปัญหาในพื้นที่ นักพัฒนาจะต้องทำการศึกษาชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
และการที่ชุมชนจะเล่าเรื่องราวภายในชุมชนให้เราฟังนั้น มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเขาเขาไว้ใจ
และเชื่อใจเรา ซึ่งมันมีผลต่อการเก็บข้อมูลด้วย

Read more

สุไลดา เกปัน

การทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ คือ ร่วมกันเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ แสดงน้ำใจ เราในฐานะคนทำงานในพื้นที่ก็สามารถเข้าไปช่วยได้ ไม่ใช่เพียงแต่เราไปชวนเขามาร่วมเท่านั้น

Read more

สมประสงค์ ยิ่งเจริญ

ดังนั้นสิ่งสำคัญของ “นักพัฒนา” เราต้องนำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสมผสานกับภูมิปัญญา หรือ วิถีชุมชนให้ได้ โดยต้องทำให้เขาไม่รู้สึกว่าเป็นภาระ หรือกระทบกับวิถีชีวิตเขาจนเกินไป หรือพูดง่ายคือเรา “ต้องพูดภาษาเดียวกันกับชาวบ้าน” นั่นเอง

Read more

มัศยา หลีดังสา

“มันต้องมาจากแนวคิดที่ว่าสุขภาพต้องมาก่อน “เราปลูกขมิ้นเพื่อเป็นยา เราได้สร้างยาที่ให้คนอื่นได้กินแล้วปลอดภัย มันส่งผลให้คนอื่นมีสุขภาพที่ดี ที่แข็งแรง” มันก็ส่งผลให้เรามีความสุข เพราะเราได้เผื่อแผ่สิ่งที่ดีให้คนอื่น ทั้งหมดนี้เราเริ่มต้นด้วยความสุข 4 ด้าน คือ สุขกาย เราได้กินอาหารที่ปลอดภัย สุขใจ เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สุขสังคม เราได้รวมกลุ่มและอยู่กับเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนสุขเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันปลูกขมิ้นทำให้มีรายได้”

Read more

ดร.ชลกานดาร์ นาคทิม

“กระบวนการสร้างการเรียนรู้ชุมชน เพื่อขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ จะต้องสร้างการเรียนรู้โดยที่เราไม่ได้ไปสอนเขา แต่เราไปแชร์ประสบการณ์ ถ่ายทอดบทเรียนที่เราเคยผิดพลาด เพื่อไม่ให้เขาทำเหมือนกัน เราเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะเราอยากให้เขาทำให้มันดีกว่าที่เราทำ”

Read more