สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด (2)

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด (2) ประเด็น เชื่อมโยงหลักปฏิบัติทางศาสนา สู่แนวทางการช่วยเหลือด้านสุขภาพ อาหาร รายได้ พร้อมกับสร้างความผูกพันภายในชุมชน “ชุมชนบ้านเขาน้อย” หรือ “บ้านเขานุ้ย” หมู่ที่ 3 ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีอายุมากว่า 150 ปี ด้วยเพราะชุมชนตั้งอยู่รอบๆ ภูมิเขาลูกเล็กๆ ลูกหนึ่ง ภาษาถิ่นใต้ “นุ้ย” มีความหมายว่า “เล็ก” หรือ “น้อย” ชุมชนจึงถูกเรียกตามชื่อ “เขานุ้ย” จนกระทั่งมีการขึ้นทะเบียนหมู่บ้าน “บ้านเขาน้อย” จึงเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน ชุมชนบ้านเขาน้อยเป็นชุมชนมุสลิม มีมัสยิดดารุลนาอีม เป็นศูนย์กลางทางศาสนา ชาวชุมชนปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ยึดถือกันอย่างเคร่งครัด แม้ไม่มีกฎหมายระบุไว้ คือ การซะกาต…

Read more

สถานการณ์โลก และของประเทศไทยกับแนวทางการผลักดัน เเละเเก้ไขปัญหาความยากจนให้กับ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของ CEIS

สถานการณ์ภาพรวมโลก และของประเทศไทย กับแนวทางการผลักดัน และแก้ไขปัญหาความยากจน ให้กับ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สถานการณ์ภาพรวมโลก “ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ในปี 2024 ช่วงไตรมาสแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA ) ร่วมมือกับระบบสถิติของสหประชาชาติ (UN Statistical System: UNStats) เผยแพร่รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2567 (The Sustainable Development Goals Report 204) พบว่าความก้าวหน้าของเป้าหมาย SDGs ทั่วโลกชะงักลงอย่างน่าตกใจ มีเป้าประสงค์ (target) ของ SDGs แค่…

Read more

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด ประเด็นบทความ การให้ความช่วยเหลือ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ปัญหาความยากจน หรือความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ทั่วโลกพูดถึง การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) การขจัดความยากจนนับเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยเองก็มีการดำเนินการขจัดความยากจนมาอย่างต่อเนื่อง แต่เราต่างรู้กันดีว่า ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำยังคงดำรงอยู่ โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม สัดส่วนคนยากจนในไทยเพิ่มสูงขึ้น สังคมไทยควรให้ความสำคัญกับมาตรการการแก้ปัญหาดังกล่าว ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อเตรียมพร้อมรองรับกับวิกฤตการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย หากเราลองมองดูนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนของประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างเบ็ดเสร็จ (Absolutely Poverty Eradication) โดยใช้มาตรการการขจัดความยากจนอย่างตรงจุด (Targeted Poverty Eradication: TPE) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญ และใช้เวลาเพียง 7 ปี ในการขจัดความยากจนให้เหลือ 0 คน ในปี พ.ศ. 2563 จากจำนวนคนยากจน 83…

Read more

สตูลบูรณาการ สานสร้างสังคมสูงวัย สดใส ยั่งยืน

“สตูลบูรณาการ สานสร้างสังคมสูงวัย สดใส ยั่งยืน” จังหวัดสตูล ร่วมกับ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสมุนไพรจังหวัดสตูล และโครงการ CEIS ขอเชิญร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “สตูลบูรณาการ สานสร้างสังคมสูงวัย สดใส ยั่งยืน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติงานส่งเสริมขมิ้นชันแบบเบ็ดเสร็จอย่างบูรณาการ

Read more

ขมิ้นชัน 4 สุข

ขมิ้นชัน 4 สุข เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสมุนไพรจังหวัดสตูล มุ่งมั่นตั้งใจผลิตขมิ้นชันอินทรีย์ ที่มีปริมาณสารทางยาสูงถึง 11.26% สามารถนำไปใช้เป็นยาได้จริง มุ่งให้เกิด “สุข 4 ด้าน – สุขกาย สุขใจ สุขสังคม สุขเศรษฐกิจ” เป็นตัวอย่าง “สังคมสูงวัย สดใส ยั่งยืน”

Read more

พัฒนาสังคมสูงวัย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

พัฒนาสังคมสูงวัย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” คืออะไร ?? มาสรุปง่าย ๆ พร้อมกับกรณีตัวอย่างจากพื้นที่ปฏิบัติการของ D Community ภายใต้โครงการ CEIS Project บ้านเขาน้อย อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งขับเคลื่อนงานโดยผู้สูงอายุและบูรณาการทำงานกับเครือข่ายพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรขมิ้นชัน และองค์กรภาคีภาครัฐ เอกชนอีกหลายแห่ง จนเกิดเป็น “ศูนย์นวัตกรรม แปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ที่สามารถช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ชุมชน และมีส่วนช่วยลดความยากจนได้ระดับหนึ่ง

Read more

พลังชุมชนสู่การสร้างเสริมสุขภาพระบบแพทย์ทางร่วม

พลังชุมชนสู่การสร้างเสริมสุขภาพระบบแพทย์ทางร่วม หลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกประสบปัญหาอันวุ่นวายกับสถานการณ์ Covid-19 ทำให้พวกเราได้หันมาใส่ใจ และดูแลสุขภาพกันมากขึ้น และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเห็นว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ ซึ่งในครั้งนี้การปฏิวัติสุขภาพของผู้สูงอายุ และป้องกันกลุ่มไม่เรื้อรัง แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย ที่ตอนนี้ได้ผลักดันเป็นวาระที่สำคัญของจังหวัดสตูล ดังนั้นจึงได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อน และสร้างความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ หมอพื้นบ้าน และ อสม. รวมถึงแกนนำชุมชนพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา อ. ละงู อ. ควนโดน จ.สตูล เพื่อร่วมกันหาแนวทางการทำงานระบบใหม่เพื่อป้องกันโรค NCDs กลุ่มโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เกิดมาจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่นโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่างๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน – CEIS…

Read more