ความมั่นคงและอาหารปลอดภัย

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “ห่อหมกปลาดุกทะเล” Chef’s Table ชุมชน เพิ่มมูลค่า รักษาอัตลักษณ์ชุมชน รักษาห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “ห่อหมกปลาดุกทะเล” Chef’s Table ชุมชน เพิ่มมูลค่า รักษาอัตลักษณ์ชุมชน รักษาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างยั่งยืน หากจะพูดถึงเทรนด์การกินอาหาร Chef’s Table ในไทย หลายคนที่สนใจเทรนด์นี้คงนึกถึง “เชฟหมู” – เฉียบวุฒิ คุปสิริกุล เซเลเบอร์ตี้เชฟ เจ้าของร้าน Table X ในซอยอารีย์ ที่ตอนนี้ย้ายร้านไปเปิดแถวสุขุมวิท ว่ากันว่า ลูกค้าอาจต้องจองล่วงหน้ามากกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี นับเป็นเจ้าแรกที่เปิดทางร้านอาหารแนวนี้ และเป็นเสาหลักของวงการ Chef’s Table ในไทยมาเกือบ 20 ปี ในช่วงหลายปีมานี้ “เชฟ เทเบิ้ล”…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “แกงมะยุมะยะ” ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “แกงมะยุมะยะ” ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน หากใครเป็นเด็กยุค 90 หรือชอบฟังเพลงย้อนยุค อาจจะเคยฟังเพลงชองวงดนตรีเพื่อชีวิตในตำนานของไทย วงคาราบาว เนื้อหาสะท้อนนโยบายรัฐในช่วงปี 2530 ที่จะเปลี่ยนแปลงภาคอีสานผ่านวาทะกรรมจาก “บักเสี่ยว” เป็น “บิ๊กเสี่ยว” ที่เนื้อเพลงเปิดตัวด้วยประโยคอมตะจนถึงทุกวันนี้ “อีสานแห้งแล้งมานานนับหลาย ๆ ปี นะพี่นะน้องนี่ไม่ใช่เรื่องโกหก” สร้างภาพจำให้คนภาคอื่นอย่างผู้เขียน นึกถึงภาคอีสานว่าเป็นภาคที่แห้งแล้งกันดาร “ผืนดินแตกระแหงทุกหย่อมหญ้า” ชาวบ้านต่างขนถังขนปี๊บ “รอรถขนน้ำของกองทัพบก” ที่เข้าไปแจกจ่ายตามหมู่บ้าน ตามภาพข่าวในทีวีที่ได้เห็นทุกข่าวภาคค่ำ แม้ไม่ใช่คนอีกสาน แต่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปภาคอีสานอยู่เป็นประจำ และเห็นว่าภาคอีสานในยุค 30 กว่าปีหลังโครงการ “อีสานเขียว” ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีความเจริญเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับตอนเดินทางไปในแถบภาคตะวันตก หรือภาคใต้ เมื่อได้คุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนทำให้ได้รู้ว่า…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ซีฟู้ด ประมงพื้นบ้าน” กินตามความเหมาะสม ไม่ผลาญธรรมชาติ

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ซีฟู้ด ประมงพื้นบ้าน” กินตามความเหมาะสม ไม่ผลาญธรรมชาติ หากนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงของไทย หลายคนคงนึกถึง ภูเก็ต สมุย หรือกระบี่ แต่หากพูดถึงเมือง “หาดทรายสวยสี่ร้อยลี้” หลายคนอาจคิ้วขมวดสงสัยว่ามันคือที่ไหน ผู้เขียนหมายถึง จังหวัดชุมพร เมืองที่เป็นประตูสู่ภาคใต้ของไทย ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ปราศจากโรงงานอุตสาหกรรม มีเกาะแก่งและโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงาม และหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่หากใครได้แวะเวียนมาสักครั้งก็ย่อมประทับใจ นั่นคือ หาดทุ่งวัวแล่น ชายหาดขาวสะอาด หากเราเปลือยเท้าเปล่าเดินย่างบนหาดทรายขาวที่ทอดตัวยาวนี้ จะสัมผัสได้ถึงความบริสุทธิ์ของเม็ดทราย และเสียงเท้าที่เสียดสีกับทรายขาวละเอียดในทุกครั้งที่ก้าวไปบนผืนทรายแห่งนี้ แม่อนงค์ หรือนามปากกาของบรมครูทางงานเขียน มาลัย ชูพินิจ เคยบรรยายถึงความงดงามของหาดทุ่งวัวแล่นไว้ในนวนิยายสุดคลาสสิคอย่าง “แผ่นดินของเรา” ที่จนถึงทุกวันนี้ แม้หาดทุ่งวัวแล่นจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยที่พักและร้านอาหารมากมาย ต่างยุคสมัยของ คุณอาธำรง และภัคคินี จากเรื่องแผ่นดินของเราแต่ความงามก็ชายดาหแห่งนี้ก็แทบไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปชมความงามของหาดทุ่งวัวแล่นอีกครั้ง และได้แวะไปยัง…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ยำปืนนกไส้” กลไกสร้างอาหารยั่งยืนของชุมชน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ยำปืนนกไส้” กลไกสร้างอาหารยั่งยืนของชุมชน เมื่อนึกถึงเชียงใหม่ นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวและธรรมชาติที่งดงาม แทบทุกคนย่อมคิดถึงเมนูเมืองแสนอร่อยอย่าง ข้าวซอย ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แกงฮังเล ไส้อั่ว ลาบดิบ หรือน้ำพริกหนุ่ม และอีกมากมายหลายเมนู ที่ล้วน “ลำขนาด” ใครได้ลองชิมแล้วก็อยากจะได้กินอีกกันแทบทั้งสิ้น ผู้เขียนเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ตกหลุมรักเมนูพื้นเมืองของคนเหนือ ถ้าได้ไปเที่ยวก็ไม่พลาดที่จะสั่งกินแทบทุกเมนู เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปจังหวัดเชียงใหม่ แต่ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งก่อนๆ คือ ได้แวะไปเยี่ยมบ้าน “พี่วัล” ลาวัล เบี้ยไธสง ที่ชุมชนสันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก พี่วัลเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้ทางเกษตรอินทรีย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพืชและเห็ด นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกและผลักดัน “ตลาดชุมชนสันป่าเปา” ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกและทำเกษตรอินทรีย์ได้มีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในราคาเป็นธรรมกับผู้บริโภค สันป่าเปา เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกลำไย มะม่วง…

Read more

Trend ความมั่นคงทางอาหารของโลก กำลังเปลี่ยนไป จุดเปลี่ยนของสินค้าเกษตร แล้วไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร

Trend ความมั่นคงทางอาหารของโลก กำลังเปลี่ยนไป จุดเปลี่ยนของสินค้าเกษตร แล้วไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร จากการสำรวจดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกทั้งหมด 113 ประเทศ พบว่าในปี 2022 ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารอยู่อันดับที่ 64 อยู่ในระดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย ตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2021 อยู่อันดับที่ 51 ซึ่งจากการประเมินคะแนนความมั่นคงด้านอาหารทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 3 คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในด้านความหลากหลายทางอาหาร มาตรฐานโภชนาการ และความพร้อมของสารอาหารรอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด แต่ก็ยังมีขาดคุณภาพ ในด้านความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี            ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของไทยปรับตัว ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ต่างเริ่ม  ทะยอยกันปรับตัวเพื่อปกป้อง เพื่อปกป้องความเสถียรภาพความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ …

Read more

โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร “ตลาดเกษตรสุขใจ” โมเดลนำร่องของโครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ที่ผลักดันให้คนในพื้นที่อำเภอเขาสวนกวางได้กินดี อยู่ดี ถูกหลักโภชนาการ มีพืชผักอาหารปลอดภัยไว้ติดครัว จากการสำรวจดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกทั้งหมด 113 ประเทศ พบว่าในปี 2022 ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารอยู่อันดับที่ 64 อยู่ในระดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย ตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2021 อยู่อันดับที่ 51 ซึ่งจากการประเมินคะแนนความมั่นคงด้านอาหารทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 3 คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในด้านความหลากหลายทางอาหาร มาตรฐานโภชนาการ และความพร้อมของสารอาหารรอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด แต่ก็ยังมีขาดคุณภาพ ในด้านความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี “ตลาดเกษตรสุขใจ” โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ…

Read more

สถานการณ์วิกฤต “ความมั่นคงทางอาหารล่าสุด 2024”

สถานการณ์วิกฤต “ความมั่นคงทางอาหารล่าสุด 2024” เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง คำกล่าวของ “หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร” หรือ บิดาแห่งการเกษตรไทย คำที่เราคุ้นหูมามานานเมื่อประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์ภัยพิบัติ “น้ำท่วม” ทำให้เราได้รู้ซึ้งว่า ‘น้ำ’ และ ‘อาหาร’ เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันถึงแม้โลกยังหมุนไป เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับประชากรโลก แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญต่อความอดอยาก และความขาดแคลนทางอาหาร และนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ดังนั้น ‘ความมั่นคงด้านอาหาร’ จึงได้กลายเป็นปัญหาที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่และมีการสร้างมาตรการในการรับมือ เพื่อความอยู่รอดของประชากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งภาวะสงคราม วิกฤตการณ์โลกร้อน ทำให้ขีดความสามารถในการผลิตอาหารลดลง และส่งผลกระทบต่อราคาอาหารให้สูงขึ้น กระทบมาสู่อุตสาหกรรมอาหาร จนกระทั่งประชากรที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ วันนี้จึงอยากชวนทุกคนลองมาสำรวจสถานการณ์ และปัจจัยอะไรที่ทำให้โลกเกิดความ (ไม่) มั่นคงทางอาหาร พร้อมกับแนวทางการรับมือ เพื่อทบทวน และร่วมกันท้าทายสถานการณ์นี้ …

Read more

กาวเหนียวดักแมลงในแปลงผัก Sticky Traps ทำง่าย ใช้ส่วนประกอบเพียง 3 อย่าง ปลอดภัยทั้งผัก คนปลูก ไปจนถึงคนกิน

กาวเหนียวดักแมลงในแปลงผัก Sticky Traps ทำง่าย ใช้ส่วนประกอบเพียง 3 อย่าง ปลอดภัยทั้งผัก คนปลูก ไปจนถึงคนกิน ใครที่มีปัญหาเรื่องแมลงในแปลงผักมากวนใจ วันนี้จะชวนทุกคนมาทำกาวดักแมลงง่าย ๆ ด้วยส่วนประกอบเพียง 3 อย่าง ขั้นตอนไม่ยาก ใช้เวลาแค่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เราก็จะได้ “กาวเหนียวดักแมลงแบบปลอดภัย” ไว้ใช้เอง สะดวก ง่าย ปลอดภัยทั้งผัก คนปลูก ไปจนถึงคนกิน รวมถึงสิ่งแวดล้อม “กาวเหนียวดักแมลง” เพื่อแก้ปัญหาแมลง ศัตรูพืชที่มีการระบาดในชุมชน ป้องกันพืชผักเสียหาย การใช้กับดัดกาวเหนียว เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดจำนวนประชากรแมลงในแปลงผักของเราได้ แถมยังใช้ง่ายและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประโยชน์ของกาวเหนียวนอกจากทำหน้าที่เป็น indicator เฝ้าระวัง เรื่องการระบาดของแมลงในแปลงผักของเรา ยังช่วยบอกความรุนแรงอีกด้วยว่าระบาดว่าหนักขนาดไหน เพื่อที่เราจะได้ป้องกัน และแก้ไขได้ทันและถูกวิธี “กับดัดการเหนียวมีหน้าที่ดักจับแมลงที่โตเต็มวัย โดยเฉพาะตัวที่มีปีก เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัด แมลงหวี่ขาว และผีเสื้อบางชนิด” “กาวเหนียวดักแมลง” เป็นหนึ่งในงานที่โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอด และขยายองค์ความรู้ไปยังพื้นที่ปฏิบัติการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ…

Read more

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในป่ามีสมุนไพร

ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในป่ามีสมุนไพร มาตามปราญช์ชุมชนสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านในป่าชุมชน ที่ป่าภูมิรักษ์ บ้านห้วยยาง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เพื่อสำรวจความมั่นคงอาหารทางอาหารที่ยั่งยืน เพราะชุมชนในหมู่บ้านสามารถเข้าถึงอาหารได้โดยไม่ขาดแคลน ปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ และเหมะสมกับท้องถิ่นตอบสนองต่อความต้องการ เพียงพอต่อการบริโภคเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจที่สดใสเบิกบาน “สมุนไพรในป่า ถ้าเรารู้วิธีใช้ มันก็ดีทั้งนั้นแหละ” พ่อดม ปราชญ์สมุนไพรพื้นบ้านวัย 70 “สมุนไพรในป่า ถ้าเรารู้วิธีใช้ มันก็ดีทั้งนั้นแหละ” พ่อดม ปราชญ์สมุนไพรพื้นบ้านวัย 70 แห่ง ได้ถูกเชิญมาออกทริป “เดินป่าตามล่า หาสมุนไพร” กับทีม CEIS โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ในป่าภูมิรักษ์ ป่าชุมชนที่ทุกคนในหมู่บ้านสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นหาพืชสมุนไพรไปต้ม ไปดื่ม ไปรักษาโรค หรือจะเข้ามาหาพันธุ์กล้าไม้เพื่อไปเพาะขายสร้างรายได้ ก็ไม่ว่ากัน หลังจากเดินเข้าป่ามาสักพัก พ่อดมก็ก้ม ๆ เงย ๆ แล้วหยิบใบไม้ ต้นไม้ ขึ้นมาสอง สาม ชนิด และถามเราว่า อันนี้คือ “หญ้ารีแพร์” นะ รู้จักไหม?…

Read more

เกี่ยวข้าวเเปลงทดลองจุลลินทรีย์จอมปลวก

เอาแรง ไปเกี่ยวข้าว… ไปย้อนวันวานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีแห่งความสามัคคีที่ทุกวันนี้เริ่มเลือนลางไปตามกาลเวลา ทุ่งนาสีทองเหลืองอร่ามในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ก็เป็นสัญญาณดังมาจากธรรมชาติเพื่อบอกเราว่า “ถึงเวลาเกี่ยวข้าวแล้วสินะ” สมัยที่เราเป็นเด็ก เวลาไปเยี่ยมตา กับยายช่วงเดือนนี้ พี่ ป้า น้า อา ก็จะพาเราไปนา ตอนนั้นจำได้ว่าสนุกมาก ได้วิ่งเล่นไปตามประสา ส่วนผู้ใหญ่เขาก็ไปเกี่ยวข้าวกัน ซึ่งหากย้อนไปในสมัยก่อนที่เทคโนโลยี หรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวนาก็จะเต็มไปด้วยชาวนามากมายมารวมตัวกันเกี่ยวข้าว ในทุ่งนาก็จะได้ยินเสียงหัวเราะดังสนั่น พูดคุยกันอย่างมีอรรถรส ช่วงพักกินข้าวก็มาแชร์กับข้าว บ้างก็ข้าวเหนียว ส้มตำ ปลาร้าสับ ต้มยำทำแกงก็ว่ากันไป ซึ่งนี่คือความทรงจำของเราในประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว (แล้วของทุกคนเป็นยังไงบ้างแชร์ได้ใต้คอมเม้นเลยนะ…อยากรู้!!) กิจกรรม และการทดลองทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้โครงการ พลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน – CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3 ภูมิภาคได้แก่ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี…

Read more