Admin dcommunit

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “ห่อหมกปลาดุกทะเล” Chef’s Table ชุมชน เพิ่มมูลค่า รักษาอัตลักษณ์ชุมชน รักษาห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “ห่อหมกปลาดุกทะเล” Chef’s Table ชุมชน เพิ่มมูลค่า รักษาอัตลักษณ์ชุมชน รักษาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างยั่งยืน หากจะพูดถึงเทรนด์การกินอาหาร Chef’s Table ในไทย หลายคนที่สนใจเทรนด์นี้คงนึกถึง “เชฟหมู” – เฉียบวุฒิ คุปสิริกุล เซเลเบอร์ตี้เชฟ เจ้าของร้าน Table X ในซอยอารีย์ ที่ตอนนี้ย้ายร้านไปเปิดแถวสุขุมวิท ว่ากันว่า ลูกค้าอาจต้องจองล่วงหน้ามากกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี นับเป็นเจ้าแรกที่เปิดทางร้านอาหารแนวนี้ และเป็นเสาหลักของวงการ Chef’s Table ในไทยมาเกือบ 20 ปี ในช่วงหลายปีมานี้ “เชฟ เทเบิ้ล”…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “แกงมะยุมะยะ” ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน : “แกงมะยุมะยะ” ภูมิปัญญาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน หากใครเป็นเด็กยุค 90 หรือชอบฟังเพลงย้อนยุค อาจจะเคยฟังเพลงชองวงดนตรีเพื่อชีวิตในตำนานของไทย วงคาราบาว เนื้อหาสะท้อนนโยบายรัฐในช่วงปี 2530 ที่จะเปลี่ยนแปลงภาคอีสานผ่านวาทะกรรมจาก “บักเสี่ยว” เป็น “บิ๊กเสี่ยว” ที่เนื้อเพลงเปิดตัวด้วยประโยคอมตะจนถึงทุกวันนี้ “อีสานแห้งแล้งมานานนับหลาย ๆ ปี นะพี่นะน้องนี่ไม่ใช่เรื่องโกหก” สร้างภาพจำให้คนภาคอื่นอย่างผู้เขียน นึกถึงภาคอีสานว่าเป็นภาคที่แห้งแล้งกันดาร “ผืนดินแตกระแหงทุกหย่อมหญ้า” ชาวบ้านต่างขนถังขนปี๊บ “รอรถขนน้ำของกองทัพบก” ที่เข้าไปแจกจ่ายตามหมู่บ้าน ตามภาพข่าวในทีวีที่ได้เห็นทุกข่าวภาคค่ำ แม้ไม่ใช่คนอีกสาน แต่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปภาคอีสานอยู่เป็นประจำ และเห็นว่าภาคอีสานในยุค 30 กว่าปีหลังโครงการ “อีสานเขียว” ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีความเจริญเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับตอนเดินทางไปในแถบภาคตะวันตก หรือภาคใต้ เมื่อได้คุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนทำให้ได้รู้ว่า…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ซีฟู้ด ประมงพื้นบ้าน” กินตามความเหมาะสม ไม่ผลาญธรรมชาติ

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ซีฟู้ด ประมงพื้นบ้าน” กินตามความเหมาะสม ไม่ผลาญธรรมชาติ หากนึกถึงแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงของไทย หลายคนคงนึกถึง ภูเก็ต สมุย หรือกระบี่ แต่หากพูดถึงเมือง “หาดทรายสวยสี่ร้อยลี้” หลายคนอาจคิ้วขมวดสงสัยว่ามันคือที่ไหน ผู้เขียนหมายถึง จังหวัดชุมพร เมืองที่เป็นประตูสู่ภาคใต้ของไทย ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ปราศจากโรงงานอุตสาหกรรม มีเกาะแก่งและโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงาม และหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่หากใครได้แวะเวียนมาสักครั้งก็ย่อมประทับใจ นั่นคือ หาดทุ่งวัวแล่น ชายหาดขาวสะอาด หากเราเปลือยเท้าเปล่าเดินย่างบนหาดทรายขาวที่ทอดตัวยาวนี้ จะสัมผัสได้ถึงความบริสุทธิ์ของเม็ดทราย และเสียงเท้าที่เสียดสีกับทรายขาวละเอียดในทุกครั้งที่ก้าวไปบนผืนทรายแห่งนี้ แม่อนงค์ หรือนามปากกาของบรมครูทางงานเขียน มาลัย ชูพินิจ เคยบรรยายถึงความงดงามของหาดทุ่งวัวแล่นไว้ในนวนิยายสุดคลาสสิคอย่าง “แผ่นดินของเรา” ที่จนถึงทุกวันนี้ แม้หาดทุ่งวัวแล่นจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยที่พักและร้านอาหารมากมาย ต่างยุคสมัยของ คุณอาธำรง และภัคคินี จากเรื่องแผ่นดินของเราแต่ความงามก็ชายดาหแห่งนี้ก็แทบไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปชมความงามของหาดทุ่งวัวแล่นอีกครั้ง และได้แวะไปยัง…

Read more

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ยำปืนนกไส้” กลไกสร้างอาหารยั่งยืนของชุมชน

เรื่องเล่าจากจานอาหาร ตอน “ยำปืนนกไส้” กลไกสร้างอาหารยั่งยืนของชุมชน เมื่อนึกถึงเชียงใหม่ นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวและธรรมชาติที่งดงาม แทบทุกคนย่อมคิดถึงเมนูเมืองแสนอร่อยอย่าง ข้าวซอย ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แกงฮังเล ไส้อั่ว ลาบดิบ หรือน้ำพริกหนุ่ม และอีกมากมายหลายเมนู ที่ล้วน “ลำขนาด” ใครได้ลองชิมแล้วก็อยากจะได้กินอีกกันแทบทั้งสิ้น ผู้เขียนเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ตกหลุมรักเมนูพื้นเมืองของคนเหนือ ถ้าได้ไปเที่ยวก็ไม่พลาดที่จะสั่งกินแทบทุกเมนู เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปจังหวัดเชียงใหม่ แต่ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งก่อนๆ คือ ได้แวะไปเยี่ยมบ้าน “พี่วัล” ลาวัล เบี้ยไธสง ที่ชุมชนสันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก พี่วัลเป็นประธานศูนย์การเรียนรู้ทางเกษตรอินทรีย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพืชและเห็ด นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกและผลักดัน “ตลาดชุมชนสันป่าเปา” ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกและทำเกษตรอินทรีย์ได้มีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในราคาเป็นธรรมกับผู้บริโภค สันป่าเปา เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกลำไย มะม่วง…

Read more

Trend ความมั่นคงทางอาหารของโลก กำลังเปลี่ยนไป จุดเปลี่ยนของสินค้าเกษตร แล้วไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร

Trend ความมั่นคงทางอาหารของโลก กำลังเปลี่ยนไป จุดเปลี่ยนของสินค้าเกษตร แล้วไทยจะต้องปรับตัวอย่างไร จากการสำรวจดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกทั้งหมด 113 ประเทศ พบว่าในปี 2022 ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารอยู่อันดับที่ 64 อยู่ในระดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย ตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2021 อยู่อันดับที่ 51 ซึ่งจากการประเมินคะแนนความมั่นคงด้านอาหารทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 3 คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในด้านความหลากหลายทางอาหาร มาตรฐานโภชนาการ และความพร้อมของสารอาหารรอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด แต่ก็ยังมีขาดคุณภาพ ในด้านความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี            ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของไทยปรับตัว ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ต่างเริ่ม  ทะยอยกันปรับตัวเพื่อปกป้อง เพื่อปกป้องความเสถียรภาพความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ …

Read more

โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร “ตลาดเกษตรสุขใจ” โมเดลนำร่องของโครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ที่ผลักดันให้คนในพื้นที่อำเภอเขาสวนกวางได้กินดี อยู่ดี ถูกหลักโภชนาการ มีพืชผักอาหารปลอดภัยไว้ติดครัว จากการสำรวจดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของโลกทั้งหมด 113 ประเทศ พบว่าในปี 2022 ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารอยู่อันดับที่ 64 อยู่ในระดับเดียวกับประเทศโคลัมเบีย ตกลงมาถึง 13 อันดับจากเดิมในปี 2021 อยู่อันดับที่ 51 ซึ่งจากการประเมินคะแนนความมั่นคงด้านอาหารทั้งหมด 4 ด้าน พบว่าด้านที่ประเทศไทยมีคะแนนที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 3 คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในด้านความหลากหลายทางอาหาร มาตรฐานโภชนาการ และความพร้อมของสารอาหารรอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ หรือผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด แต่ก็ยังมีขาดคุณภาพ ในด้านความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี “ตลาดเกษตรสุขใจ” โครงการเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ…

Read more

สถานการณ์วิกฤต “ความมั่นคงทางอาหารล่าสุด 2024”

สถานการณ์วิกฤต “ความมั่นคงทางอาหารล่าสุด 2024” เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง คำกล่าวของ “หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร” หรือ บิดาแห่งการเกษตรไทย คำที่เราคุ้นหูมามานานเมื่อประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์ภัยพิบัติ “น้ำท่วม” ทำให้เราได้รู้ซึ้งว่า ‘น้ำ’ และ ‘อาหาร’ เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันถึงแม้โลกยังหมุนไป เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับประชากรโลก แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญต่อความอดอยาก และความขาดแคลนทางอาหาร และนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ดังนั้น ‘ความมั่นคงด้านอาหาร’ จึงได้กลายเป็นปัญหาที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่และมีการสร้างมาตรการในการรับมือ เพื่อความอยู่รอดของประชากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งภาวะสงคราม วิกฤตการณ์โลกร้อน ทำให้ขีดความสามารถในการผลิตอาหารลดลง และส่งผลกระทบต่อราคาอาหารให้สูงขึ้น กระทบมาสู่อุตสาหกรรมอาหาร จนกระทั่งประชากรที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ วันนี้จึงอยากชวนทุกคนลองมาสำรวจสถานการณ์ และปัจจัยอะไรที่ทำให้โลกเกิดความ (ไม่) มั่นคงทางอาหาร พร้อมกับแนวทางการรับมือ เพื่อทบทวน และร่วมกันท้าทายสถานการณ์นี้ …

Read more

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด (2)

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด (2) ประเด็น เชื่อมโยงหลักปฏิบัติทางศาสนา สู่แนวทางการช่วยเหลือด้านสุขภาพ อาหาร รายได้ พร้อมกับสร้างความผูกพันภายในชุมชน “ชุมชนบ้านเขาน้อย” หรือ “บ้านเขานุ้ย” หมู่ที่ 3 ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีอายุมากว่า 150 ปี ด้วยเพราะชุมชนตั้งอยู่รอบๆ ภูมิเขาลูกเล็กๆ ลูกหนึ่ง ภาษาถิ่นใต้ “นุ้ย” มีความหมายว่า “เล็ก” หรือ “น้อย” ชุมชนจึงถูกเรียกตามชื่อ “เขานุ้ย” จนกระทั่งมีการขึ้นทะเบียนหมู่บ้าน “บ้านเขาน้อย” จึงเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน ชุมชนบ้านเขาน้อยเป็นชุมชนมุสลิม มีมัสยิดดารุลนาอีม เป็นศูนย์กลางทางศาสนา ชาวชุมชนปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ยึดถือกันอย่างเคร่งครัด แม้ไม่มีกฎหมายระบุไว้ คือ การซะกาต…

Read more

สถานการณ์โลก และของประเทศไทยกับแนวทางการผลักดัน เเละเเก้ไขปัญหาความยากจนให้กับ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของ CEIS

สถานการณ์ภาพรวมโลก และของประเทศไทย กับแนวทางการผลักดัน และแก้ไขปัญหาความยากจน ให้กับ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สถานการณ์ภาพรวมโลก “ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ในปี 2024 ช่วงไตรมาสแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs: UN DESA ) ร่วมมือกับระบบสถิติของสหประชาชาติ (UN Statistical System: UNStats) เผยแพร่รายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2567 (The Sustainable Development Goals Report 204) พบว่าความก้าวหน้าของเป้าหมาย SDGs ทั่วโลกชะงักลงอย่างน่าตกใจ มีเป้าประสงค์ (target) ของ SDGs แค่…

Read more

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด

การแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างภูมิคุ้มกัน “กลุ่มผู้เปราะบาง” ในชุมชนท้องถิ่นอย่างตรงจุด ประเด็นบทความ การให้ความช่วยเหลือ “กลุ่มผู้เปราะบาง” ของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ปัญหาความยากจน หรือความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ทั่วโลกพูดถึง การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) การขจัดความยากจนนับเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยเองก็มีการดำเนินการขจัดความยากจนมาอย่างต่อเนื่อง แต่เราต่างรู้กันดีว่า ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำยังคงดำรงอยู่ โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม สัดส่วนคนยากจนในไทยเพิ่มสูงขึ้น สังคมไทยควรให้ความสำคัญกับมาตรการการแก้ปัญหาดังกล่าว ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อเตรียมพร้อมรองรับกับวิกฤตการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย หากเราลองมองดูนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนของประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างเบ็ดเสร็จ (Absolutely Poverty Eradication) โดยใช้มาตรการการขจัดความยากจนอย่างตรงจุด (Targeted Poverty Eradication: TPE) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญ และใช้เวลาเพียง 7 ปี ในการขจัดความยากจนให้เหลือ 0 คน ในปี พ.ศ. 2563 จากจำนวนคนยากจน 83…

Read more