October 16, 2023

กิจกรรมต้อนรับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. ในการประเมินโครงการสร้างพลังผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพร จังหวัดสตูล ภายใต้โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS)

กิจกรรมต้อนรับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. ในการประเมินโครงการสร้างพลังผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพร จังหวัดสตูล ภายใต้โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) วันที่ 12 กันยายน 2566 ณ บ้านเขาน้อย ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล กิจกรรมต้อนรับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. ในการประเมินโครงการสร้างพลังผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาอาชีพด้านสมุนไพร จังหวัดสตูล ภายใต้โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS)

Read more

การสรุปผลความก้าวหน้าการดำเนินงานงานโครงการปี 2565 และถอด บทเรียนการทำงานพัฒนาในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงเติมความรู้ หนุนเสริมทักษะ ในการจัดทำแผนงานให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน

การสรุปผลความก้าวหน้าการดำเนินงานงานโครงการปี 2565 และถอดบทเรียนการทำงานพัฒนาในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงเติมความรู้ หนุนเสริมทักษะ ในการจัดทำแผนงานให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน “โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ (CEIS) ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายนำโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัด “ประชุมสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2565 และทำแผนงานโครงการประจำปี 2566″ ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี ถนนเพชรเกษม ตำบลห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม วันที่ 12 – 13 มกราคม 2566 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสรุปผลความก้าวหน้าการดำเนินงานงานโครงการปี 2565 และถอดบทเรียนการทำงานพัฒนาในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงเติมความรู้ หนุนเสริมทักษะ ในการจัดทำแผนงานให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน นอกจากนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการยังได้จัดทำร่างแผนการดำเนินงานโครงการปี 2566 ร่วมกันระหว่างองค์กรภาคี “โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” (Community Empowerment & Innovations for Sustainability: CEIS)…

Read more

โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)

โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำทีมโดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมนำเสนอการมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำทีมโดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมนำเสนอการมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ที่ ห้องประชุมเกษมสโมสร โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ภายในงาน โครงการได้นำเสนอการดำเนินงานในพื้นที่ต่อ นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นประธานตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) พร้อมด้วย นางสาวฉัตรประอร นิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ นางสาวกมลชญา ประเสริฐสิน นายอำเภอบางปะกง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน…

Read more

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนบ้านโคกศรี

ชวนมาสำรวจความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนบ้านโคกศรี ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สำหรับการสนับสนุน และถ่ายทอดองคความรู้ในจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และมูลค่าป่าในชุมชน โดยใช้กระบวนการสำรวจป่าเข้ามาเป็นเครื่องมือให้ชุมชนได้เห็นระบบนิเวศในป่า ความหลากหลาย ความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโตของพืชในป่าชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้สามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างคุ้มค่า โดยวิธีการสำรวจนั้น โครงการฯจะลงสำรวจร่วมกับผู้นำในชุมชน เพื่อให้ผู้นำนั้นสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้การสำรวจป่าให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ยังเชิญปราชญ์ หรือหมอสมุนไพรชุมชน ลงร่วมกัน เพื่อให้ได้มองเห็นถึงความหลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในป่า ป่าชุมชนโคกศรีโดดเด่นเรื่อง “สมุนไพร” และ “ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ” โดยพืชสมุนไพร 35 ชนิด 3 อันดับแรก ที่พบมากที่สุดคือ มะกอกเกลื้อน ก้นครก เเดง และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ได้ 11 ชนิดพันธุ์ พบมากที่สุด 3 อันดับแรก เเดง ยางเหียง เต็ง

Read more

ส่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของไทย

ส่องสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของไทย หากพูดถึง “อาหารไทย” เชื่อว่าแทบทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างชาติ ต่างยอมรับในรสชาติความอร่อย ความหลากหลาย รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร และผู้ส่งออกอาหารระดับต้นของโลก ถึงขั้นที่รัฐบาลไทยในยุคหนึ่งเล่นใหญ่ประกาศนโยบายผลักดันประเทศไทยให้เป็นครัวโลกกันเลยทีเดียว เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) คนไทยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าหมายถึงการมีอาหารเพียงพอ บวกกับภาพจำจากวาทะกรรม “ประเทศไทยโชคดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ส่งผลให้หลายคนไม่สนใจ หรือตระหนักถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหารกันอย่างจริงจัง ทั้งที่จริงแล้วในระดับโลก เรื่องของความมั่นคงทางอาหารถูกพูดถึงมาหลายทศวรรษ สอดคล้องตามสถานการณ์อาหารและสังคมในช่วงเวลานั้นๆ ช่วงปี 1960 – 1970 โลกขาดแคลนอาหาร การแก้ไขปัญหาจึงเน้นไปที่การเร่งผลิตปริมาณอาหารให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มพื้นที่ภาคการเกษตร การใช้เทคโนโลยีและสารเคมีทางการเกษตร แต่แม้จะมีปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่กลับพบว่า “ความหิวโหย” (Hunger) ในกลุ่มคนจนยังมีอยู่ ในช่วง 1980 จึงเน้น “การเข้าถึงอาหาร” โดยใช้นโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กระจายอาหารให้ถึงทุกคน ต่อมาหลังปี 1990 ความมั่นคงทางอาหารได้ขยายครอบคลุมมิติ “ความปลอดภัยทางอาหาร” ได้แก่ คุณภาพ คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ ความมั่นคงทางอาหาร จึงไม่ใช่แค่การที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้ มีอาหารอย่างเพียงพอ…

Read more

“อธิปไตยทางอาหาร”

“อธิปไตยทางอาหาร” (Food Sovereignty) เพจ D Community ชวนมาคุยเรื่องวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร กับ “อธิปไตยทางอาหาร” (Food Sovereignty) ที่เราควรรู้ ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังแสดงท่าทีกังวลถึงวิกฤติความมั่นคงทางอาหาร อันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ แต่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดและภัยสงครามนี้กลับพบว่า (ตามรายงาน Food Injustice 2020-22: Unchecked, Unregulated and Unaccountable) กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจเกษตรกรรมกว่า 20 แห่ง (ธุรกิจเกี่ยวกับธัญพืช ปุ๋ย เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม) กลับคว้าผลกำไรปริมาณมหาศาล (มีการแบ่งปันผลกำไรให้ผผู้ถือหุ้นปีงบประมาณ 2020-2021 สูงถึง 53 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,890 ล้านบาท) บริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ส่วนใหญ่ครอบครองตลาดโดยไม่ต้องมีพันธะที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตลาดโลก หรือกระทั่งเปิดเผยตล๊อกสินค้าของตัวเอง ซึ่งก็หมายถึง พวกเขากำลังถือครองข้อมูลที่สามารถกำหนดกรอบราคาอาหารโลกให้เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง เมื่อตัวเลขแท้จริงในสต๊อกคลุมเครือ อาจเป้นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะฟองสบู่เพื่อเก็งกำไร ทำให้กลุ่มผู้บริโภคในยุโรปออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐทั่วโลกกำหนดนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่จะส่งผลต่อระบบอาหารโลก เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (European Coordination Via Campesina (ECVC) – กลุ่มขับเคลื่อนที่ต่อสู้เพื่ออธิปไตยทางอาหาร) แล้วอธิปไตยทางอาหารคืออะไร?…

Read more

สบู่จากสารสกัดใบยางนา

สบู่จากสารสกัดใบยางนา วันนี้ Dcommunity จะพาชุมชนคน D ลงไปดูแม่ ๆ บ้านนางิ้ว และ บ้านนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนที่นำเอา “ใบยางนา” มาต่อยอดสู่ “สบู่จากสารสกัดใบยางนา” ที่ชุมชนสามารถทำได้ ทำง่าย ใช้ได้เอง “สำหรับ” โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ ผศ. ดร.สมพร เกษแก้ว และทีมวิทยากรจากศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ศูนย์การเรียนรู้ยางนาบูรณาการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรม เติมความรู้ การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ “ประเด็นสำคัญ” ในการอบรมครั้งนี้คือ การเติมความรู้ให้กับชุมชนบ้านนางิ้ว และ บ้านนาโพธิ์ รู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จากยางนา นั่นคือ “การทำสบู่จากยางนา” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำง่ายที่สุด ชุมชนสามารถเรียนรู้ และนำไปใช้ได้จริง โดยโครงการฯได้พาผู้เชี่ยวชาญลงไปอธิบายขั้นตอน และสาธิตวิธีการทำ ตั้งแต่กระบวนการเตรียมอุปกรณ์ การสกัดยางนา ไปจนถึงการทำผลิตภัณฑ์สบู่จากสารสกัดใบยางนา เพื่อให้ชุมชนได้เข้าใจ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่ “สำหรับการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน” ทีมนวัตกรรม ร่วมกับทีมสนามได้ศึกษาข้อมูล…

Read more