September 26, 2023

ต้อนรับ นักศึกษาวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ต้อนรับ นักศึกษาวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชุมชนห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น มีโอกาสได้ต้อนรับ นักศึกษาวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รวม 18 คน ตามโครงการปฏิบัติการเก็บข้อมูลภาคสนาม ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้การพัฒนาทักษะการเก็บข้อมูลสนามในชุมชนของมหาวิทยาลัย นอกจากนักศึกษาทั้ง 18 คนที่ลงพื้นที่จะได้พัฒนาทักษะของตนเองแล้ว น้อง ๆ ยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตร่วมกับ Hosts ซึ่งเป็นแม่ ๆในชุมชน ที่ดูแลให้คำปรึกษาตลอด 2 อาทิตย์ที่อยู่ร่วมกัน นอกจากนี้คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ ผู้นำชุมชน และเยาวชนที่เข้าร่วมให้ข้อมูลเอง ก็จะได้พัฒนาทักษะในการต้อนรับและถ่ายทอดข้อมูลชุมชน ตลอดจนเป็นการทบทวนและอัพเดทข้อมูลชุมชนให้มีความถูกต้อง และเป็นปัจจุบันไปด้วย เพจ D Community ขอเป็นกำลังใจให้กับทั้งนักศึกษา และชุมชนห้วยยาง ที่มีความมุ่งตั้งใจพัฒนางานการพัฒนาชุมชนอยู่ตลอดเวลา

Read more

ตรุษจีน….ลดเผา ลดจุด ลด PM 2.5

ตรุษจีน….ลดเผา ลดจุด ลด PM 2.5 ตรุษจีน เทศกาลสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน (คล้ายกับวันสงกรานต์ของไทย) แต่รู้หรือไม่ว่า ? การไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เผากระดาษเงินกระดาษทอง และจุดประทัดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดฝุ่นและควันจำนวนมาก อยากให้ทุกคนลองนึกภาพตาม หากทุกคนจุดธูปพร้อมกัน ฝุ่นควันจะลอยในอากาศมากขนาดไหน บวกกับตอนนี้ประเทศไทยยังคงมีฝุ่น PM 2.5 อยู่ในอากาศ ซึ่งนี่อาจจะทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นเพิ่มขึ้นไปอีก และจากผลสำรวจอนามัยโพลเรื่องพฤติกรรมการใช้ธูปและกระดาษเงินกระดาษทองในเทศกาลตรุษจีนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อปี 2562 ที่ผ่าน นั้นพบว่า ในวันตรุษจีน ประชาชนมีการจุดธูปร้อยละ 79 เผากระดาษเงินกระดาษทองร้อยละ 51 และเผาสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ บ้าน รถ ร้อยละ 19 และพบว่า ประชาชนบางส่วนยังมีพฤติกรรมการใช้ธูปและเผาที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ธูปขนาดสั้นเพียงร้อยละ 33 มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ถึงร้อยละ 98 และสิ่งที่ตามมาจากการ “จุดธูป” นั่นคือผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเป็นต้นตอของ ”โรคมะเร็ง” โดยจากงานวิจัย “สารก่อมะเร็ง…

Read more

ช่วยลดภาวะโลกรวน – ‘ปลูกต้นไม้ 1 ต้น คุณค่ามหาศาล’

ช่วยลดภาวะโลกรวน – ‘ปลูกต้นไม้ 1 ต้น คุณค่ามหาศาล’ หลายปีมานี้ ประเทศไทยโดยเฉพาะ กทม. และหลายจังหวัดทางภาคเหนือ พบปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 บวกกับปัญหาจากภาวะโลกรวน หากเปรียบเป็นคนป่วย ก็เข้าขั้นป่วยหนัก จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจัง แต่ไม่ต้องมองหาหมอจากที่ไหน เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (พ.ย. 2565) ในเวทีการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (COP 27) ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ นอกจากข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชย “ความสูญเสียและเสียหาย” (Loss and Damage) ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ที่ประชุมยังคงเน้นย้ำถึงการทำตามคำสัญญารัฐภาคีที่ให้ไว้เมื่อ COP 26 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ ‘Net Zero’ ภายในปี 2050 และควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส การบรรลุ Net Zero ไม่ใช่เรื่องของนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกัน หนึ่งในวิธีที่ทุกคนช่วยกันได้ง่ายๆ ก็คือ การปลูกต้นไม้…

Read more

ขนมจีน วัฒนธรรมการกินร่วมของคนอุศาคเนย์

ขนมจีน วัฒนธรรมการกินร่วมของคนอุศาคเนย์ นอกจากขนมอย่าง “ขนมโตเกียว”, “ลอดช่องสิงคโปร์” ไปจนถึงอาหารอย่าง “ข้าวผัดอเมริกัน” ที่ชื่อ และต้นกำเนิด ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลยสักนิด “ขนมจีน” ก็เป็นอีกเมนูที่นอกจากจะไม่ใช่ “ขนม” แล้ว ต้นกำเนิดยังไม่เกี่ยวกับ “จีน” เลยด้วย “ขนมจีน” เป็นอาหารคาวที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า พบเห็นได้ในวัฒนธรรมการกินของคนในแถบอุศาคเนย์ Southeast Asia คนไทย คนมอญ คนพม่า คนลาว คนเขมร คนเวียดนาม ไปจนถึงคนมาเลเซีย แตกต่างกันไปตรงน้ำยา หรืออาหารคาวที่นำมากินร่วมกับเส้นขนมจีน ตามแต่ละท้องถิ่น เชื่อกันมานานแล้วว่า “ขนมจีน” ที่ไทยรับมานั้นมาจาก คนมอญ หรือรามัญ โดยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า “คนอมจิน” คนอม แปลว่า แป้ง หรือจับให้เป็นก้อน ส่วน จิน หมายถึง การทำให้สุกจากการหุงต้ม คนอมจิน จึงหมายถึง แป้งก้อนที่ทำให้สุกแล้ว กลายเป็นภาษาไทยว่า “ขนมจีน” ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และหลงเหลือเป็นชื่อบ้านนามเมืองอย่าง “คลองขนมจีน”…

Read more

Upskills Your Capacity 2566

Upskills Your Capacity 2566 รับสมัครน้อง ๆ ที่สนใจ หรืออยาก Upskills และพัฒนาตนเอง สมัครด่วนโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ สมาคมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม จัดอบรมออนไลน์ฟรี ผ่าน Zoom ‘Upskills Your Capacity’ หลักสูตรยกระดับการทำงานพัฒนา สำหรับน้องๆ นักศึกษาปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป สมัครเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน และควรมีอาจารย์ร่วมเป็นที่ปรึกษากลุ่มละ 1 คน #เข้าอบรมฟรี เรียนครบ จบ 4 ครั้งได้ประกาศนียบัตรรับรอง #อบรมฟรี ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปกรอกแบบฟอร์ม >> https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdWt1ua…/viewform (เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ – 10 มิถุนายน 2566 เท่านั้น) #เนื้อหา เพิ่มทักษะการทำงาน กระบวนการออกแบบ Design thinking การวิเคราะห์ปัญหาแบบเชื่อมโยง…

Read more

โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

โครงการพลังชุมชน และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำทีมโดย ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา หัวหน้าโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมนำเสนอการมีส่วนร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ

Read more

22 พฤษภาคม “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ”

22 พฤษภาคม “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” (International Day for Biological Diversity) ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก แม้วิทยาการและเทคโนโยลีของมนุษย์จะก้าวไกลอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์ในทุกกิจกรรมประจำวัน แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มนุษย์ยังต้องพึ่งพาระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำ อาหาร ยา เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสหประชาติกำหนดให้ วันที่ 22 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” (International Day for Biological Diversity) ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อระลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CDB) เริ่มมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยมีวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญา…

Read more

“5 มิถุนายน” วันสิ่งแวดล้อมโลก : World Environment Day

“5 มิถุนายน” วันสิ่งแวดล้อมโลก : World Environment Day 5 มิถุนายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้กำหนดให้เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก – World Environment Day” เพื่อระลึกถึงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือจากนานาชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UN Conference on the Human Environment) เมื่อพ.ศ. 2515 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน หัวข้อในการรณรงค์ปีนี้ คือ “Beat Plastic Pollution – เอาชนะมลพิษจากพลาสติก” เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงมลพิษจากพลาสติกที่เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อโลก นอกจากปริมาณขยะพลาสติกที่กำลังจะล้นโลก สิ่งที่ไม่ค่อยมีคนรู้ คือ ไมโครพลาสติกสามมรถเข้าไปในอาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม และแม้กระทั่งอากาศที่เราหายใจ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเรา เพื่อให้สิ่งแวดล้อมของโลกยุคใหม่ยังคงน่าอยู่ต่อไป ไม่เพียงแต่การลด-ละ-เลิกใช้ถุงพลาสติก หรือการเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ รัฐบาลประเทศต่างๆ ควรให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-ups) ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม…

Read more

5 มิถุนายน 2566 “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ”

5 มิถุนายน 2566 “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ปี 2552 คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นชอบให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” เพื่อให้ประชาชนไทยตระหนักถึงคุณค่าของข้าวไทย และเป็นกำลังใจให้ชาวนาที่มุ่งมั่นประกอบอาชีพ ทำนาด้วยความเสียสละและอดทน ซึ่งนับได้ว่าช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศอย่างยั่งยืนตลอดมา โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ CEIS ให้ความสำคัญในการสร้าง และส่งเสริมให้ชุมชนภายใต้โครงการฯ เกิดความยั่งยืน โดยใช้พลังชุมชนและนวัตกรรม รวมถึงการหนุนเสริมจากภาคีต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น มาบูรณาการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา และนำมาปรับใช้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้เหมาะสมในในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่ชาวนาต่อไป ตัวอย่างชุมชนต้นแบบ หนึ่งใน 3 พื้นที่ปฏิบัติการ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นำภูมิปัญญาชาวบ้าน ผสมผสานกับนวัตกรรมนำจาวปลวกมาทำเป็น “ จุลินทรีย์จาวปลวก” มาใช้ในแปลงนา ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการใช้สารเคมี ปลอดภัยทั้งต่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม และอยู่ในขั้นตอนขยายผลองค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นต่อไป ทำไม “จุลินทรีย์จาวปลวก” สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต…

Read more

“สโลว์ฟู้ด” – กินอย่างรู้ที่มา…ช้า แต่ยั่งยืน

“สโลว์ฟู้ด” – กินอย่างรู้ที่มา…ช้า แต่ยั่งยืน ผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่มาไม่นาน เพื่อนๆ ผู้เขียนหลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว บางคนกลับมาบ่นว่าต้องผจญรถติดแสนสาหัส สถานที่ท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมันริมทาง คาเฟ่ ไปจนถึงร้านอาหารต้องเบียดเสียด แย่งกันกินแย่งกันสั่ง จนต้องอาศัยร้านฟ้าดฟู้ด (ภาษาในวงเพื่อนมักเรียก ร้านแดกด่วน) หรือไม่ก็ร้านสะดวกซื้อเลขเจ็ด เหมือนกินเพื่อประทังชีวิตในบางมื้อกันเลยทีเดียว ฟังเรื่องเล่าช่วงปีใหม่ของเพื่อนๆ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงร้านอาหารสัญลักษณ์ “หอยทากแดง” ขององค์กร “Slow Food” องค์กรเครือข่ายอาหารยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มี คาร์โล เปตรีนี (Carlo Petrini) ชายชาวอิตาลีเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อกว่า 3 ทศวรรษก่อน มีสมาชิกเป็น เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ ชาวประมง เชฟ คนทำอาหาร เครือข่ายชาติพันธุ์ เครือข่ายคนหนุ่มสาว และเครือข่ายคนรักอาหารกว่า 150 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย หัวใจหลักของร้านอาหารสโลว์ฟู้ดไม่ใช่การทำอาหารอย่างเอ้อระเหยลอยชาย หรือการปล่อยให้ลูกค้าต้องนั่งหิวคอยอาหาร หากแต่เป็นอาหารที่ยึดมั่นหลัก 3 ประการ คือ “ดี สะอาด เป็นธรรมกับทุกฝ่าย” (Good, Clean…

Read more