September 24, 2023

สมศักดิ์ เส็นดาโอ๊ะ

การทำงานชุมชนเราต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของชุมชนก่อนอะไรที่มีประโยชน์ และอะไรที่จะเป็นทางออกให้กับเขา และสิ่งที่เราจะสามารถรู้ได้อย่างลึกซึ้งนั้น คือการที่เราเดินลงไปชุมชน และเราต้องมองว่าทุกคน ทุกชุมชนมีศักยภาพของตัวเอง

นอกจากนี้การบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ก็สำคัญ หากใครมีความพร้อมก็ชวนเข้ามาร่วมกันทำงานในชุมชน และร่วมกันพัฒนาไปพร้อมๆ กันทีละก้าว ผมว่านี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน ถึงแม้ใครคนหนึ่งปล่อยมือไป ชุมชนก็ยังสามารถเดินต่อไปได้อยู่

Read more

สมประสงค์ ยิ่งเจริญ

ดังนั้นสิ่งสำคัญของ “นักพัฒนา” เราต้องนำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผสมผสานกับภูมิปัญญา หรือ วิถีชุมชนให้ได้ โดยต้องทำให้เขาไม่รู้สึกว่าเป็นภาระ หรือกระทบกับวิถีชีวิตเขาจนเกินไป หรือพูดง่ายคือเรา “ต้องพูดภาษาเดียวกันกับชาวบ้าน” นั่นเอง

Read more

รศ.ดร.ปาริชาติ วลัยเสถียร

“ทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน แต่ไม่ทำทุกอย่างที่ชุมชนต้องการ” – ปาริชาติ วลัยเสถียร “ครูนักพัฒนา”

Read more

มัศยา หลีดังสา

“มันต้องมาจากแนวคิดที่ว่าสุขภาพต้องมาก่อน “เราปลูกขมิ้นเพื่อเป็นยา เราได้สร้างยาที่ให้คนอื่นได้กินแล้วปลอดภัย มันส่งผลให้คนอื่นมีสุขภาพที่ดี ที่แข็งแรง” มันก็ส่งผลให้เรามีความสุข เพราะเราได้เผื่อแผ่สิ่งที่ดีให้คนอื่น ทั้งหมดนี้เราเริ่มต้นด้วยความสุข 4 ด้าน คือ สุขกาย เราได้กินอาหารที่ปลอดภัย สุขใจ เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สุขสังคม เราได้รวมกลุ่มและอยู่กับเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนสุขเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันปลูกขมิ้นทำให้มีรายได้”

Read more

“ครูยอด” วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์

นักพัฒนาจึงต้องวางอุเบกขา ปล่อยวางตัวตนและอคติลง ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดทางเลือกของพวกเขาเอง ไม่แทรกแซงมากเกินไป เคารพการตัดสินใจของชุมชน ให้เชื่อมั่นว่าชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนา แต่อาจขาดองค์ความรู้บางอย่าง เป็นหน้าที่ของนักพัฒนาชุมชนที่จะต้องสะท้อนให้ชุมชนเห็นทางเลือกต่างๆ ด้วยการย่อยเนื้อหาให้เข้าใจง่าย สร้างกระบวนการทำงานที่ชุมชนมีส่วนร่วม” – “ครูยอด” วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ นักวิจัยและนักพัฒนาชุมชนอิสระ

Read more

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.6

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.6 : โปรแกรมทำ Infographic อย่างมืออาชีพ เมื่อพูดถึงอินโฟกราฟฟิก (Infographic) ส่วนใหญ่พวกเราจะนึกถึงการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตที่มักถูกแชร์กันต่อ ๆ กันมา ทั้งข้อมูลสถิติวิชาการ, how to, ขั้นตอนการทำงาน/ ทำอาหาร/ ดูแลความงาม ต่างๆ นาๆ พวกเราชาวนักพัฒนาเองก็ไปตามเซฟเอามาใช้อ้างอิง ทั้งในการนำเสนอ หรือใช้อ้างอิง (อย่าลืมให้เครดิตที่มาเวลาเรานำไปใช้กันด้วยนะ) แต่ถ้าเรามีข้อมูลของตัวเอง องค์ความรู้จากพื้นที่ชุมชนที่เราทำงาน หรือเวลาที่เราลงพื้นที่ประชุมพูดคุยกับชาวบ้าน, องค์กรในพื้นที่ หากเราสามารถทำอินโฟกราฟฟิกใช้งานเอง ย่อมจะสร้างความประทับใจ ความน่าสนใจ และสร้างภาพพจน์ความเป็นมืออาชีพให้กับเราด้วย หลายคนอาจคิดว่าการทำอินโฟกราฟฟิกยากเกินไป แต่ในความจริงแล้ว มีโปรแกรมต่างๆ ให้เราได้เลือกใช้ทำอินโฟกราฟฟิกเบื้องต้นหลากหลาย และถ้าเราลองทำเป็นประจำก็ย่อมพัฒนารูปแบบให้ดูเป็นมืออาชีพได้ วันนี้เรามีโปรแกรมการทำอินโฟกราฟฟิกด้วยตัวเองมาแนะนำให้ไปลองใช้กัน MS Word หรือ PowerPoint โปรแกรมพื้นฐานอย่างเวิร์ด และพาวเวอร์พอยต์ สามารถนำมาใช้ทำอินโฟกราฟฟิกได้ทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการใช้โปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันคือ พาวเวอร์พอยต์ โดยเลือก PowerPoint Templates ที่มีให้อยู่แล้ว มีดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย…

Read more

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.5

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.5 : เลือก Infographic แบบไหนให้เหมาะกับงานของเรา ครั้งที่แล้วเราได้คุยกันถึงเทคนิคการทำอินโฟกราฟฟิกเบื้องต้นกันไปแล้ว วันนี้เราจะชวนทุกคนมาลงมือทำอินโฟกราฟฟิกแบบง่ายๆ แต่ใช้ได้จริง เพื่อให้นักพัฒนาฯ ยุคใหม่อย่างเราสร้างเสน่ห์และความประทับใจในทุกการนำเสนอ ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการทำอินโฟกราฟฟิก เราอยากจะย้ำกับทุกๆ อีกครั้ง ถึงหัวใจของการทำอินโฟกราฟฟิก นั่นคือ “การสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ” โดยองค์ประกอบในอินโฟกราฟฟิกที่เราทำนั้น ควรมี “5 ต้อง” ประกอบด้วย 1) ต้องมีความหมาย (อะไรที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือชวนให้สับสน อย่าใส่) 2) ต้องเข้าใจง่าย (อย่าจับข้อมูลทั้งหมดยัดลงไป) 3) ต้องสร้างความประทับใจ (ออกแบบให้สบายตา ไม่อึดอัด ไม่ดูรกรุงรัง) 4) ต้องมีความเป็นเอกสารให้ข้อมูล (ข้อมูลที่นำเสนอต้องตรวจสอบความถูกต้อง และที่มาที่น่าเชื่อถือเสมอ) และ 5) ต้องมีประโยชน์ (อาจเป็นข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายควรรู้, กระบวนการ/ขั้นตอนการทำงานต่างๆ หรือข้อมูลที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม) เมื่อเรารวบรวมข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล จัดระเบียบ และรีไรท์ (Rewrite) ข้อมูลพร้อมแล้ว เราควรเลือกรูปแบบโครงสร้าง (Layout)…

Read more

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.4

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.4 : ไม่ตกเทรนด์ ใช้ Infographic อินโฟกราฟฟิก (Infographic) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคปัจจุบัน เพราะมันถูกนำมาใช้ในหลากหลายที่ เป็นที่นิยมแพร่หลายเพราะเป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดข้อมูลออกไปแล้ว ช่วยให้ผู้คนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การออกแบบอินโฟกราฟฟิกจะใช้ภาพและตัวอักษรมาประกอบกันเพื่อสื่อสารชุดข้อมูล เนื้อหา หัวใจสำคัญของการทำอินโฟกราฟฟิก คือ การสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบของอินโฟกราฟฟิกนั้นมีหลากหลาย ทั้งภาพนิ่ง หรือคลิปวิดีโอ การออกแบบอินโฟกราฟฟิกก็ทำได้หลากหลายสไตล์ เนื้อหาที่เราจะนำมาทำอินโฟกราฟฟิกนั้นก็สามารถทำได้หลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาวิชาการ, ธุรกิจ, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, สุขภาพ, เทคโนโลยี ฯลฯ ส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นได้ทั่วไปจะเป็น 1) ข่าวเด่น ประเด็นร้อน วิกฤติการณ์ 2) สอน How To บอกเล่ากลยุทธ์ต่างๆ เป็นขั้นตอน 3) ให้ความรู้ในรูปแบบ Did you know? หรือสถิติต่างๆ ไม่ให้น่าเบื่อ 4) บอกเล่าตำนาน หรือวิวัฒนาการ ทดแทนตำราเล่มหนาๆ 5) อธิบายผลสำรวจ…

Read more

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.2

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.2 : ใช้ Pictogram สิ นอกจากการใช้ภาพประกอบการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการทำพรีเซ็นเตชั่น พาวเวอร์พอยต์ คอนเทนต์ หรือข้อความในช่องแชทต่าง ๆ แล้ว การใช้รูปทรงเลขาคณิตประกอบกันเป็นภาพง่ายๆ ที่เรียกว่า Pictogram เพื่อแทน หรือเสริมคำพูด นอกจากจะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ ร่นระยะเวลาในการสื่อสาร ในบางครั้งยังช่วยแทนคำพูดที่สื่อสารไม่ได้อีกด้วย แล้ว Pictogram คืออะไร? ทำยังไง? วันนี้เรามารู้จักกัน พิกโตแกรม (Pictogram) เป็นภาพที่ใช้สื่อแทนตัวหนังสือ คล้ายรูปวาดในถ้ำสมัยโบราณ พิกโตแกรมที่เราคุ้นเคยกันดี คือ รูปสัญลักษณ์กีฬา ที่ประเทศญี่ปุ่นบุกเบิกนำมาใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกตั้งแต่ปี 1964 เพราะความแตกต่างทางภาษา แต่เมื่อใช้ภาพพิกโตแกรมแล้ว ปัญหาดังกล่าวก็หมดไป ปัจจุบันพิกโตแกรมถูกใช้แทบทุกสถานที่ อย่างสัญลักษ์ห้องน้ำ, ลิฟท์, บันไดเลื่อน, ทางม้าลาย, รูปแบตเตอร์รี่บนโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง ไอคอน อีโมจิ และงานอินโฟกราฟฟิกต่างๆ แม้นักพัฒนาฯ จะไม่ใช่นักศิลปะ แต่การหยิบเอาภาพพิกโตแกรมมาใช้ให้ถูกที่ถูกทาง ก็จะช่วยให้งานของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้…

Read more

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.1

หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.1 ในยุคปัจจุบันที่ช่องทางการสื่อสารมีมากมาย ความนิยมชมชอบในการเสพสื่อของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป การสื่อสารเพียงข้อความหรือตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่สิ่งที่คนในยุคนี้ให้ความสนใจมากนัก แต่การสื่อสารที่มีภาพประกอบกลับได้รับความนิยมมาตลอดหลายสิบปีหลัง ไม่ว่าจะกับคนยุคใหม่ หรือยุคก่อนหน้า อย่างการส่ง “สวัสดีวัน….” ทางไลน์ ก็นิยมใช้ภาพประกอบและใช้สีที่สื่อสารได้ภายในแวบแรกที่เห็นว่าหมายถึง “วัน…” อะไร นักพัฒนาฯ ยุคใหม่ นอกจากจะทำงานในพื้นที่ชุมชนแล้ว การใช้ช่องทางสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไลน์ ช่องแชทต่างๆ หากรู้จักใส่ภาพที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาเข้าไปสักนิดก็จะทำให้คอนเทนต์ พรีเซ็นเตชั่น พาวเวอร์พอยต์ หรือสื่อที่ต้องการส่งให้กับเครือข่ายของเราน่าสนใจมากขึ้น และสื่อสารได้ไวขึ้น เพราะสมองใช้เวลาเพียง ¼ วินาที ในการเข้าใจภาพ อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า ภาพถ่าย เป็นอะไรที่ทรงพลัง ไม่เพียงเพื่อความสวยงาม หรือพักสายตา แต่ภาพเพียงหนึ่งภาพบวกกับข้อความเสริมอีกสักหน่อยอาจแทนข้อความนับสิบหน้า และให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่หากเราไม่สามารถเก็บภาพจริงมาได้ หรือภาพที่มีอยู่มันยังไม่น่าพอใจ ลองหาภาพจากเว็ปไซต์แจกภาพฟรี หรือเว็ปไซต์ขายภาพออนไลน์ก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่สิ่งที่ต้องห้ามเด็ดขาด คือ “อย่าเอารูปที่ได้จากการค้น google มาใช้ทันที” เพราะแต่ละภาพอาจมีข้อกำหนดในการใช้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางภาพเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ต่อ อนุญาตให้ใช้ฟรีแต่ต้องให้เครดิต อนุญาตให้ใช้ฟรีแต่ต้องไม่ใช่เชิงธุรกิจ…

Read more