ดร.ชลกานดาร์ นาคทิม
“กระบวนการสร้างการเรียนรู้ชุมชน เพื่อขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ จะต้องสร้างการเรียนรู้โดยที่เราไม่ได้ไปสอนเขา แต่เราไปแชร์ประสบการณ์ ถ่ายทอดบทเรียนที่เราเคยผิดพลาด เพื่อไม่ให้เขาทำเหมือนกัน เราเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะเราอยากให้เขาทำให้มันดีกว่าที่เราทำ”
ต้นไม้แห่งความยั่งยืน “Big Tree of sustainability”
ต้นไม้จะเติบโตและเป็นประโยชน์ต่อผู้คนได้ ย่อมประกอบไปด้วย ราก ลำต้น กิ่งก้าน และใบ ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ผู้ปลูกต้องหมั่นดูแล เอาใจใส่ รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะสามารถแผ่กิ่งก้านสาขา ให้ร่มเงา ออกดอกออกผลให้ได้เก็บกินอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับงานพัฒนาชุมชนของโครงการ CEIS ที่เชื่อมั่นว่าปัจจัยที่จะทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่เชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ดังต่อไปนี้ ดอก ผล คือ ความสำเร็จสมบูรณ์และพร้อมที่จะขยายพันธุ์ ในกรณีของชุมชนหมายถึง ชุมชนที่เข้มแข็ง (เพราะผ่านการจัดการกับปัญหาและความต้องการต่างๆด้วยตนเองได้) มีทรัพยากรหลากหลายชนิด รวมทั้งความรู้และความสามารถของคนในชุมชน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความสุข จนได้รับการยอมรับจากผู้คนและหน่วยงานภายนอก ทำให้ชุมชนมีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การขยายผลออกไปสู่วงกว้าง ใบ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ทำให้ต้นไม้เติบโต และออกดอกผลได้ในที่สุด กรณีของชุมชน หมายถึง การสร้างสมความรู้ พลัง และการพัฒนาฐานทรัพยากรด้านต่าง ๆ ในชุมชน อาทิ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจและการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อเป็นพลังของชุมชนในอนาคต ตลอดจนการเชื่อมประสานความร่วมมือกับชุมชนอื่นๆ…
ศึกษาดูงาน ชุมชนห้วยยาง
ผู้แทนจาก กฟผ. เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ ที่ แปลงผักปลอดภัย ชุมชนห้วยยาง และป่าชุมชนนางิ้ว-นาโพธิ์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาองค์ความรู้
ผูกเสี่ยวบ้านทุ่งบ่อ
ชุมชนบ้านทุ่งบ่อจัดกิจกรรม “ผูกเสี่ยวป่า” ประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสาน เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนกับต้นไม้
ผลการทดสอบประสิทธิภาพซั้งกอ
โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำเสนอผลงานวิจัยชุมชนในการทดสอบประสิทธิภาพซั้งกอจากปูนผสมเปลือกหอยแมลงภู่
หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ”
หมัดเด็ดนักพัฒนาฯ ยุคใหม่ “สื่อสารด้วยภาพ” EP.2 : “แผนภาพ” ช่วยอธิบายข้อมูลก้อนโตๆ ในการทำงานพัฒนาฯ นั้น เชื่อว่าแทบทุกคนจะต้องเจอกับการพยายามอธิบายข้อมูลก้อนใหญ่ให้กับชาวบ้าน หน่วยงาน เข้าใจด้วยความทุลักทุเล ตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปของชุมชนประเภท จำนวนประชากรแยกตาม เพศ อายุ วัย รายได้ บลาๆ หรือการอธิบายขั้นตอนการทำงาน กระบวนการทำงานที่วุ่นวาย รายละเอียดยอบย่อย อธิบายทั้งพูด ทั้งทำท่าทาง กันจนมือพันลวันก็ยังไม่เข้าใจ ลองเปลี่ยนมาใช้แผนภาพ ในการอธิบายดูสิ แล้วทุกอย่างจะราบรื่นขึ้นเยอะเลย แผนภาพ คือ การเอาแผนผังและคำสั้นๆ มาประกอบกัน ไม่ให้ดูน่าเบื่อจากตัวหนังสือที่มีมากมาย ช่วยให้การอธิบายรายรื่นและเข้าใจง่ายขึ้น แผนภาพ ต่างจาก Pictogram ที่เราได้เล่ากันไปแล้วตรงที่ พิกโตแกรม มุ่งสื่อข้อความนั้นๆ ทันทีที่เห็น (เห็นรูปรถไฟ รู้ทันทีว่าต้องระวังรถไฟ) แต่แผนภาพจะสื่อเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกัน เป็นลำดับขั้นตอน จริงๆ แล้ว แผนภาพ ก็เป็นเหมือน กราฟ ตาราง แผนผัง แผนภูมิ…
เทคนิคการเขียนหนังสือราชการอย่างง่าย
เทคนิคการร่างหนังสือราชการอย่างง่ายเพื่องานพัฒนาฯ เชื่อว่าหลายๆ คนที่ทำงานพัฒนา ไม่ว่าคุณจะอยู่ในหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือองค์กรอิสระ ต่างก็ต้องเคยเห็นหนังสือราชการกันแทบทั้งนั้น อันที่จริงแล้วระเบียบงานสารบรรณของทางราชการแบ่งประเภทของหนังสือราชการออกเป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย หนังสือภายใน (ใช้เฉพาะในหน่วยงานนั้นๆ เรียก “บันทึกข้อความ”), หนังสือภายนอก (ใช้ติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ทั้งราชการด้วยกัน เอกชน และบุคคล), หนังสือสั่งการ (คำสั่ง, ระเบียบ, ข้อบังคับ), หนังสือประทับตรา (มีลำดับชั้นความลับ “ลับ”, “ลับมาก” ความด่วน “ด่วน”, “ด่วนมาก” เป็นต้น), หนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ, แถลงการณ์, ข่าว) และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ (หนังสือรับรอง, รายงานการประชุม เป็นต้น) ซึ่งหนังสือแต่ละประเภทใช้ในบริบทที่แตกต่างกันไป ในการทำงานพัฒนาฯ ในบางโอกาสเราจำเป็นต้องติดต่อกับทางราชการ หลายๆ คนที่เป็นนักพัฒนาอิสระอาจไม่ถนัด หรือไม่เคยร่างหนังสือติดต่อราชการมาก่อน วันนี้เรามีเทคนิคเบื้องต้นแบบไม่ลงรายละเอียด ในการร่างหนังสือราชการมาฝากกัน การเขียนคำขึ้นต้น – ใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ โดยทั่วไปกรณีถึงบุคคลโดยตรง ใช้ “เรียน” เช่น…